Page 177 - แผนปฏิบัติราชการ 65
P. 177
แผนปฏิบัติราชการ ประจ าปีงบประมาณ พ .ศ . 2565 หน้า -167-
6. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 22
ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนส าคัญ
ที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพและ
ในมาตรา 23 ว่าด้วยการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้น
ความส าคัญทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง
ความรู้และทักษะด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ดังนั้นภาษาไทยจึงมีความส าคัญทั้งในฐานะที่เป็นภาษา
ประจ าชาติเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติการใช้ภาษาจึงเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความช านาญไม่ว่าจะเป็น
การอ่านการคิดวิเคราะห์การเขียนการพูดการฟัง และการดูรวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษาเพื่อ
สื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่วมีวิจารณญาณมีคุณธรรมและมีนิสัยรักการอ่านถ้านักเรียนมีความรู้
มีความสามารถในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมกับระดับชั้นแล้วจะท าให้การเรียนการสอนในกลุ่ม
สาระการเรียนรู้อื่นด าเนินได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพ
ส าหรับความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาตินั้นสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด าเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่องปัญหาการใช้ค าไทย
ณ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทรงมีพระราชด ารัสตอนหนึ่งว่า “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเอง
แต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้” ด้วยตระหนักในความส าคัญเรื่องภาษารัฐบาลจึงประกาศ
ให้ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2742 เป็นต้นมา
หมวดวิชาภาษาไทย แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ เห็นสมควรจัดโครงการวันภาษาไทยขึ้นเพื่อปลูกฝังส่งเสริม
ให้นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าของภาษาไทยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยภูมิปัญญาและท้องถิ่นของไทย
7. วัตถุประสงค์
7.1 นักเรียนมีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์การเขียนการฟังการดูและการพูดรวมทั้งการใช้ภาษา
7.2 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกข้อมูล
7.3 นักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย
7.4 นักเรียนมีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ
8. เป้าหมาย
8.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. ร้อยละ 85 ของนักเรียนมีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์การเขียน การฟังการดู การพูด การใช้ภาษา
2. ร้อยละ 85 ของนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกข้อมูล
3. ร้อยละ 85 ของนักเรียนมีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ
4. ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
5. ร้อยละ 95 ของนักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย
8.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. 1