Page 358 - แผนปฏิบัติราชการ 65
P. 358

แผนปฏิบัติราชการ ประจ าปีงบประมาณ พ .ศ . 2565    หน้า  -348-

               6. หลักการและเหตุผล
                      การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เป็นการบริหารองค์กรที่เน้นการใช้กลยุทธ์เพื่อบริหาร

               ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรในเชิงป้องกันความเสี่ยงมากกว่าการแก้ปัญหาจากความเสี่ยงในภายหลัง จึงถือเป็น “การบริหาร
               เชิงอนาคต (Future Management)” เนื่องจากการด าเนินงานตามปกติขององค์กรจะมุ่งเน้น การบรรลุเป้าหมายของ

               ตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์ขององค์กรเป็นหลัก แต่การบริหารความเสี่ยงมุ่งเน้นการปิด จุดอ่อน (ความเสี่ยง) ที่จะส่งผล

               ให้องค์กรไม่สามารถด าเนินงานได้บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดขององค์กร หรือในระดับกระบวนการและขั้นตอน
               โดยการก าหนดกลยุทธ์และปรับเป็นแผนงาน/ โครงการ/กิจกรรม (Action Plan) ต่อไป การบริหารความเสี่ยงจึงเป็น

               วิธีการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลักดันให้องค์กร ด าเนินงานได้บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดในทุกๆ ยุทธศาสตร์

               ได้ในระดับที่สูงขึ้น
                      กระทรวงการคลังจึงได้ก าหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในการควบคุม

               ภายใน และการบริหารความเสี่ยง ส าหรับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติ

               แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 79 โดยส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
               จึงได้มีนโยบายให้ทุกสถานศึกษาในสังกัดได้ด าเนินการรายงานผลการควบคุมภายในทุกปีงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์

               กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักการปฏิบัติการควบคุมภายในส าหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561 ดังนั้น
               วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ตระหนักถึงความส าคัญของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดดังกล่าวข้างต้น

               ซึ่งสอดคล้องมาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ

               การฝึกอบรมวิชาชีพ พ.ศ.2561 มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคม
               แห่งการเรียนรู้ โดยการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม


               7. วัตถุประสงค์
                      7.1 เพื่อตอบสนองนโยบายของส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการรายงานผลการควบคุมภายใน

               ของสถานศึกษา
                      7.2  เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความส าคัญของการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง

               รวมถึงการน าการบริหารความเสี่ยงไปใช้ในการพัฒนาองค์กร

                      7.3 เพื่อให้คณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถจัดท าแผนการควบคุมภายในและการ
               บริหารความเสี่ยง


               8. เป้าหมาย
                      8.1  เป้าหมายเชิงปริมาณ

                              จัดอบรมคณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จ านวน 109 คน

                      8.2  เป้าหมายเชิงคุณภาพ
                              ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

               ในสถานศึกษา

               9. สถานที่ด าเนินโครงการ/ระยะเวลา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี/ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565
   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363