Page 8 - 9
P. 8
2 9 การเทียบโอนผลการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา
ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนและเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำผลการเรียน และ
หรือความรู้และประสบการณ์มาขอรับการประเมินเทียบโอนเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยนับเป็นส่วนหนึ่ง
ของผลการเรียนตามหลักสูตร เพื่อยกเว้นการเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่เข้าเรียน
หลักการเทียบโอนผลการเรียนรู้
การเทียบโอนผลการเรียนรู้เพื่อนับเป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตร เพื่อยกเว้นการ
เรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่เข้าเรียน จำเป็นต้องมีหลักการและกระบวนการปฏิบัติที่ยุติธรรม มีความ
น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ รวมทั้งต้องมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานทาง
วิชาการ โดยมีหลักการดำเนินการ ดังนี้
• รูปแบบของการเทียบโอนผลการเรียนรู้
1. การโอนผลการเรียน เป็นการยอมรับผลการเรียนรู้รายวิชาหรือกลุ่มวิชาในหลักสูตร
เดียวกัน หรือต่างหลักสูตร จากการศึกษาในระบบและนอกระบบ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
2. การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ เป็นการยอมรับผลการเรียนรู้ (ความรู้ ทักษะ
และเจตคติ) ของผู้เรียนที่ได้จากการผ่านการศึกษาฝึกอบรมในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย จากการ
ประกอบอาชีพ จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ที่สะท้อนถึงกระบวนการทำงานและการพัฒนา
อาชีพ การฝึกอาชีพ การแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ