Page 15 - 3
P. 15

8                                            3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน



                   •  กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม


                      กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม มีลำดับขั้นตอนดังนี้
                      1. สถานศึกษาอาชีวศึกษาทำหนังสือขออนุญาตพัฒนาสาขาวิชาเพิ่มเติมเสนอต่อสำนักงาน

             คณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยแนบโครงการ แผนงานและผลการศึกษาความต้องการและความ
             จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชานั้น ทั้งนี้ การศึกษาความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา

             หลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม ประกอบด้วย
                        1.1 การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หรือการวิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis)

                        1.2 การสำรวจความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน สถานประกอบการ
                        1.3 การประเมินความพร้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการดำเนินการจัดการเรียน

             การสอน ทั้งด้านผู้สอน ผู้เรียนและทรัพยากรสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
                      2. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร

             สาขาวิชาเพิ่มเติม
                      3. สถานศึกษาอาชีวศึกษาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม
             จากภาครัฐและภาคเอกชน อย่างน้อย 7 คน ประกอบด้วย ครู คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร

             ผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในสาขาอาชีพ
                      4. สถานศึกษาอาชีวศึกษาดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อยกร่างและบรรณาธิการ

             หลักสูตรสาขาวิชาที่พัฒนาเพิ่มเติม ทั้งนี้ การกำหนดจุดประสงค์สาขาวิชา มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
             สาขาวิชา การพัฒนารายวิชาจะต้องสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานจริงของอาชีพนั้น ๆ หรือตามมาตรฐาน

             อาชีพและระดับคุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และหรือมาตรฐานอน
                                                                                           ื่
             ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น ๆ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ โดยกำหนดรหส
                                                                                            ั
             วิชา ชื่อวิชา จำนวนชั่วโมง จำนวนหน่วยกิต จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา
             ตามรูปแบบที่กำหนด
                      5. สถานศึกษาอาชีวศึกษาดำเนินการจัดประชุมผู้แทนและผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐและ

             ภาคเอกชนเพื่อวิพากษ์หลักสูตรที่พัฒนา ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

             ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ตามสาขาอาชีพ
                      6. สถานศึกษาอาชีวศึกษาเสนอการพัฒนาสาขาวิชาต่อคณะกรรมการวิทยาลัยพิจารณา
             เพื่อให้ความเห็นชอบ กรณีคณะกรรมการวิทยาลัยพิจารณาแล้วไม่เห็นชอบ ให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

             แล้วนำเสนอใหม่ หากคณะกรรมการวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นชอบ ให้ดำเนินการเสนอสำนักงาน
             คณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20