Page 10 - 3
P. 10

3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน                              3


                      สำหรับการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาเป็นหลักสูตรใหม่และพุทธศักราชใหม่ เพื่อเป็น
             หลักสูตรแกนกลางที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ

             เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และ
             เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ รวมทั้งการอนุมัติ ประกาศใช้และรับรองคุณวุฒิผู้สำเร็จ

             การศึกษาตามหลักสูตร ได้นำเสนอไว้ในเอกสาร “หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา
                                                           ิ
             ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
             ฐานสมรรถนะ” แล้ว ในเอกสารเล่มนี้จะนำเสนอถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการดำเนินการพัฒนา

             หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่มเติม ซึ่ง
             ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม การพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติม และการพัฒนา

             หลักสูตรรายวิชาหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อควรทราบและข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                   •  สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับหลักสูตรอาชีวศึกษา

                      1. หลักสูตรอาชีวศึกษาจะจัดหมวดหมู่ตามลักษณะงานอาชีพออกเป็นประเภทวิชา ในแต่ละ
             ประเภทวิชาจำแนกออกเป็นสาขาวิชา และในแต่ละสาขาวิชาจำแนกออกเป็นสาขางาน
                      2. หลักสูตรอาชีวศึกษาแต่ละระดับจะมีหลักการของหลักสูตรและจุดหมายของหลักสูตร

             เหมือนกันทุกประเภทวิชา กรณีสาขาวิชาที่มีข้อกำหนดเฉพาะของงานอาชีพ สามารถเพิ่มส่วนที่เป็น
             ข้อกำหนดเฉพาะนั้นในหลักการและจุดหมายของหลักสูตรสาขาวิชานั้นได้

                                                                                         ็
                      3. จุดประสงค์สาขาวิชาจะเป็นข้อกำหนดเฉพาะโดยภาพรวมของสาขาวิชา สะท้อนใหเหนว่า
                                                                                        ้
             การที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์สาขาวิชานั้น ๆ ผู้เรียนจะต้องศึกษาและปฏิบัติ
             รายวิชาในหมวดวิชา กลุ่มและหรือกลุ่มวิชาใดตามโครงสร้างหลักสูตร เพื่อนำไปสู่คุณภาพของผู้สำเร็จ
             การศึกษาตามจุดหมายของหลักสูตร ซึ่งโดยทั่วไปจะมีกรอบการเขียนในบางส่วนเหมือนกันเพื่อให ้

             สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรตามระดับคุณวุฒิ และมีส่วนที่แตกต่างเพื่อแสดงลักษณะเฉพาะของ
             สาขาวิชา
                      4. มาตฐานการศึกษาวิชาชีพจะเป็นการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในด้านคุณธรรม

             จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้
             และความรับผิดชอบ จำแนกตามสมรรถนะแกนกลางและสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน

             คุณวุฒิอาชีวศึกษาและมาตรฐานอาชีพตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ โดยจะระบุถึงคุณลักษณะและสมรรถนะ
             ที่ต้องการที่ละเอียดและชัดเจนมากขึ้น ทั้งสมรรถนะบังคับและสมรรถนะเลือก เพื่อนำไปสู่การกำหนด

             รายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกตามเงื่อนไขที่กำหนดในหมวดวิชา กลุ่มและกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร
             ฐานสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและความต้องการของสถานประกอบการ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15