Page 7 - 9
P. 7

9 การเทียบโอนผลการเรียนรู้                                                     1



              การเทียบโอนผลการเรียนรู้
              หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกียวกับการจดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพชั้นสูง
                                    ั
                                                      ี
                                                                        ี
                              ่

              แนวคิด

                      พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา
             15 กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา

             ตามอัธยาศัย โดยให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือ
             ต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้
             นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน


                      พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 10 (2) กำหนดให้การจัดการอาชีวศึกษา
             และการฝึกอบรมวิชาชีพต้องคำนึงถึงการศึกษาในด้านอาชีพสำหรับประชาชน วัยเรียนและวัยทำงาน

             ตามความถนัดและความสนใจอย่างทั่วถึง จนถึงระดับปริญญาตรี  และมาตรา 10 (4) ได้กำหนดให้การ
             จัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพ ต้องคำนึงถึงการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย มีระบบ

             เทียบโอนผลการเรียน และระบบเทียบประสบการณ์การทำงานของบุคคล เพื่อเข้ารับการศึกษาและการ
             ฝึกอบรมวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

                      นอกจากนี้ ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
             ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์
             มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562 กำหนดว่าการยกเว้น

             การเรียนรายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง หมวดสมรรถนะวิชาชีพและหมวดวิชาเลือกเสรี
             สามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียน หรือโดยการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิต
             ตามหลักสูตร ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด รวมทั้งระเบียบ

             กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตร
             วิชาชีพ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร
             ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ก็ได้กำหนดไว้ว่านักเรียน นักศึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์ในงาน

             อาชีพ หรือฝึกงานในสถานประกอบการ หรือทำงานในอาชีพนั้นอยู่แล้ว หรือมีความรู้ในรายวิชาตรงตาม
             หลักสูตรมาก่อนเข้าเรียน หรือเข้าเรียนแล้ว แต่ได้เรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ จะขอ
             ประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อนับจำนวนหน่วยกิตสะสมสำหรับรายวิชานั้นตาม

             โครงสร้างหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนดได้ โดย
             ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด และต้อง
             คำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานของผู้สำเร็จการศึกษา
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12