Page 6 - คู่มือ ITA2021
P. 6

ส่วนที่ 1

                                                          บทนำ


               1.1 ความเป็นมา

                       สำนักงาน ป.ป.ช. ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็น
               กลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า
               “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ  (Integrity and

               Transparency Assessment: ITA) เป็นการประเมินที่ครอบคลุมการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐใน
               ทุกมิติ ตั้งแต่การบริหารงานของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน มีการประเมิน
               “ระบบงาน” และ “วัฒนธรรม” ในหน่วยงาน ตลอดจนประเมินผลการปฏิบัติงานในภาพรวมที่สะท้อนได้จาก
               การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก


                       การประเมิน ITA ได้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และมีการ
               ขยายขอบเขตและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ   เมื่อวันที่ 23 มกราคม
               2561 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
               ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 โดยใช้แนวทางและเครื่องมือ
               การประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด


                       จากความสำคัญของการประเมิน ITA ข้างต้น ทำให้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21
               การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580) ได้นำผลการประเมิน ITA ไปกำหนดตัวชี้วัดและ
               ค่าเป้าหมายของแผ่นแม่บทฯ โดยในระยะแรก (พ.ศ.2561-2565) กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่
               มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


                       ในปี พ.ศ. 2561 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ทบทวนรายละเอียดแนวทางการประเมิน ITA และพัฒนาระบบ
               เทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการประเมิน เพื่อลดภาระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นศูนย์กลางในการเก็บ
               รวบรวมข้อมูลที่ทันสมัย สามารถบริการข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเป็นมาตรฐานเดียวกัน และประสบความสำเร็จ

               เป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะการมีส่วนทำให้หน่วยงานภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับการกำกับ
               ดูแลการดำเนินงานให้มีคุณธรรมในการบริหารงานภายในหน่วยงานและการดำเนินงานตามภารกิจ
               ของหน่วยงาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                       สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เห็นความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
               ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) โดยมุ่งหวังให้

               สถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมและความโปร่งใส เพื่อให้เกิด
               ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และการดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวมเป็นสำคัญและ
               ลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบในสถานศึกษา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11