Page 9 - 10
P. 9

10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน                           1

              กำรประกันคุณของภำพหลักสูตร

              และกำรจัดกำรเรียนกำรสอน
              หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกียวกับการจดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพชั้นสูง
                              ่
                                    ั
                                                                        ี
                                                      ี

              แนวคิด


                      การศึกษาถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะนอกจากการศึกษาจะช่วย
             พัฒนาผู้เรียนในทุกระดับให้มีทักษะและความสามารถสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาชีวิต ครอบครัวและ
             ชุมชนแล้ว การศึกษายังช่วยพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย องค์ประกอบสำคัญของระบบการศึกษาที่มี

             คุณภาพคือหลักสูตร เพราะหลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำในการจัดการความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียน
             สถานศึกษาและผู้สอนจะต้องปฏิบัติตามหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

             โดยเฉพาะการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนสู่การประกอบอาชีพ จำเป็นต้องใช้หลักสูตรฐาน
             สมรรถนะที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพตามระดับคุณวุฒิ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ

             อาชีวศึกษาแต่ละระดับ สถานศึกษาจะต้องวางแผนการนำหลักสูตรไปใช้ โดยศึกษาทำความเข้าใจ
             หลักสูตรที่เปิดสอน หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร ระเบียบและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด

             แนวทางในการบริหารหลักสูตรและดำเนินการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นสมรรถนะวิชาชีพให้เป็นไป
             อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม
             และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ สถานศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีการติดตามประเมินผล

             การใช้หลักสูตรเป็นระยะอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายและเชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุง
             แก้ไข พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนต่อไป


                      ทั้งนี้ กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
             ไว้อย่างน้อย 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) ด้านความรู้ 3) ด้าน

             ทักษะ และ 4) ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ
             อาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ

             ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562 ก็ได้กำหนดคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 4 ด้าน
             สอดคล้องกับระดับคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้หลักสูตรแต่ละระดับ สาขาวิชาและสาขางานนำไปกำหนด

             มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ รวมทั้ง
             สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพด้วย
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14