Page 22 - 3
P. 22

3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน                            15


                        2.1 หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง  สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถพัฒนา
             รายวิชาเพิ่มเติมในแต่ละกลุ่มวิชา เพื่อเลือกเรียนนอกเหนือจากรายวิชาที่กำหนดให้เป็นวิชาบังคับได้ โดย

             สามารถพัฒนาเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการ ผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชา
             ภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศึกษา

             (ระดับ ปวช.) หรือกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ (ระดับ ปวส.) กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ระดับ ปวช.)
             หรือกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ (ระดับ ปวส.) ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้
             ของกลุ่มวิชานั้น ๆ  เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง

                        2.2 หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ  สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถพัฒนา
             รายวิชาเพิ่มเติมได้เฉพาะในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ตามความต้องการของสถานประกอบการหรือ

             ยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ทั้งนี้ ต้องพิจารณาให ้
             สอดคล้องกับจุดประสงค์สาขาวิชาและสมรรถนะวิชาชีพสาขางาน

                        2.3 หมวดวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถพัฒนารายวิชา
             เพิ่มเติมได้ ตามความต้องการของสถานประกอบการ ชุมชน ท้องถิ่น หรือยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเพื่อ

             เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และหรือเพื่อการศึกษาต่อ
                      3. ต้องมีข้อมูลสนับสนุนถึงเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับความต้องการหรือความจำเป็นที่เชื่อถือ
             ได้ และหากเป็นรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับขององค์กรวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ ต้องได้รับอนุญาตตาม

             กฎหมายก่อน
                      4. ต้องมีข้อมูลความพร้อมของสถานศึกษาที่จะเปิดสอนหลักสูตรรายวิชาที่พัฒนาเพิ่มเติมนั้น

             เกี่ยวกับจำนวน คุณสมบัติ ความรู้ ความชำนาญและความพร้อมของครูผู้สอน ความพร้อมของสิ่งอำนวย-
             ความสะดวก ได้แก่ อาคารสถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้สนับสนุนการจัดการศึกษาที่มี

             จำนวนเพียงพอ
                      5. การเขียนรายละเอียดของรายวิชาต้องมีองค์ประกอบตามรูปแบบและเกณฑ์ที่กำหนด

             ประกอบด้วย รหัสวิชา ชื่อวิชา เวลาเรียนภาคทฤษฎี-เวลาเรียนภาคปฏิบัติ-หน่วยกิต (ท-ป-น) จุดประสงค์
             รายวิชา สมรรถนะรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา

                      6. การกำหนดรหัสวิชาต้องเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด คือ รหัสรายวิชาที่สถานศึกษา
             อาชีวศึกษาหรือสถาบันพัฒนาเพิ่มเติมในหลักสูตร ต้องใช้สัญลักษณ์ “ดอกจัน” (*) แทนสัญลักษณ์ “ขีด” (-)

             ส่วนลำดับที่ของรายวิชาที่พัฒนาเพิ่มเติมนั้น (ตัวเลขรหัสวิชาลำดับที่ 8-9) ใหสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ
                                                                       ้
             สถาบันแต่ละแห่งเริ่มต้นตั้งแต่รายวิชาลำดับที่ 01 ไปตามลำดับและจัดทำฐานข้อมูลไว้ให้เป็นระบบ
             ตัวอย่างเช่น 20000*1101, 20101*2201,  20101*2202
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27