Page 8 - 3
P. 8

3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน                              1


              กำรพัฒนำหลักสูตรเพิ่มเติม

              หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกียวกับการจดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพชั้นสูง
                                                                        ี
                                                      ี
                              ่
                                    ั

              แนวคิด



                      “หลักสูตร (Curriculum)” หมายถึง ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน

             สถานศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วน “หลักสูตรอาชีวศึกษา (Vocational Education
             Curriculum)” หมายถึง หลักสูตรเพื่อการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามที่คณะกรรมการ

             การอาชีวศึกษากำหนด ซึ่งได้จากการนำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนา
             เพื่อใหผู้รับการศึกษามีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบ
                  ้
             อาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพโดยอิสระได้

                      การพัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเหมาะสมตาม

             สภาพแวดล้อมและสังคมในปัจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหา
             สาระและประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตรแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน และนำไปพัฒนาผู้เรียนทั้ง

             ด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ กิจนิสัยและทักษะความชำนาญได้ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร อย่างไร
             ก็ตามเมื่อสถานศึกษานำหลักสูตรไปใช้ ก็ต้องมีการประเมินผลหลักสูตรเพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่องของ
             หลักสูตรเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การพัฒนาหลักสูตรจึงสามารถดำเนินการได้

             ใน 2 กรณี คือ การพัฒนาหลักสูตรที่ไม่เคยมีอยู่เลยขึ้นมาใหม่ และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเดิมที่มีอยู่
             ให้ดีขึ้น ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรเอาไว้ ดังนี้


                      การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ที่สถานศึกษาแต่ละแห่ง
             กำหนดเป็นกรอบหรือแนวทางการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะกระบวนการและ

             คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงความต้องการของสถาน-
             ประกอบการ (เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. 2558 : 9-10)


                      Taba (1962 : 454) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง
             หลักสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน
             การวัดผลและการประเมินผลอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

             เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการ
             เปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบทางด้านความคิดและความรู้สึกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13