Page 39 - คู่มือ ITA2021
P. 39
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน
(Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)
คำชี้แจง
1. ผู้ตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน หมายถึง บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ใน
สถานศึกษามาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. ขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ จำนวนร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน แต่จะต้องมี
จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ตัวอย่าง หากสถานศึกษามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในจำนวนน้อยกว่า 30 คน ให้เก็บ
ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทั้งหมด
3. ทำเครื่องหมาย ( √ ) ตามระดับการรับรู้ของท่านในแต่ละประเด็นการประเมิน ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ (i1 – i6)
เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในสถานศึกษาต่อการปฏิบัติงานของ
บุคลากรอื่นในสถานศึกษาของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามมาตรฐาน มีความ
โปร่งใส ปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และจะต้องเป็นไปอย่างเท่า
เทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้มาติดต่อทั่วไปหรือผู้มาติดต่อที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว รวมไปถึงการปฏิบัติงานอย่างมุ่งมั่น
เต็มความสามารถ และมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งล้วนถือเป็นลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ใน
ฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมีคุณธรรม นอกจากนี้ ยังประเมินการรับรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียก
รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่น ๆ ของบุคลากรอื่นในสถานศึกษาทั้งในกรณีที่แลกกับการปฏิบัติหน้าที่ และใน
กรณีช่วงเทศกาลหรือวาระสำคัญต่าง ๆ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือแม้แต่กรณีการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่น ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการรับสินบนได้ในอนาคต ประกอบด้วย
ข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้
ระดับ
ประเด็นการประเมิน น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด
หรือไม่มีเลย
i1 บุคลากรในสถานศึกษา ปฏิบัติงาน/ให้บริการแก่ผู้มาติดต่อ
ตามประเด็นดังต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใด
▪ เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด
▪ เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
34