Page 43 - คู่มือ ITA2021
P. 43

ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ (i19 – i24)
                        เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในสถานศึกษาต่อการใช้ทรัพย์สิน

               ของราชการ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคลากรภายใน การนำทรัพย์สินราชการของสถานศึกษา
               ไปเป็นของตนเองหรือนำไปให้ผู้อื่น และพฤติกรรมในการขอยืมทรัพย์สินของราชการ ทั้งการยืมโดยบุคลากร
               ภายในและบุคคลภายนอกสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาจะต้องมีกระบวนการในการขออนุญาตที่ชัดเจนและ

               สะดวก นอกจากนี้สถานศึกษาจะต้องมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง
               เพื่อเผยแพร่ให้บุคลากรภายในได้รับทราบและนำไปปฏิบัติ    รวมไปถึงสถานศึกษาจะต้องมีการกำกับดูแลและ
               ตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการของหน่วยงานด้วย ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ
               ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ  ดังนี้

                                                                                   ระดับ
                                ประเด็นการประเมิน                 น้อยที่สุด
                                                                 หรือไม่มีเลย   น้อย     มาก     มากที่สุด
                 i19 บุคลากรในสถานศึกษา มีการเอาทรัพย์สินของราชการ ไป
                 เป็นของส่วนตัว หรือนำไปให้กลุ่มหรือพวกพ้อง มากน้อยเพียงใด
                 i20 ขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการ ไปใช้
                 ปฏิบัติงานในสถานศึกษา มีความสะดวกมากน้อยเพียงใด
                 i21 ถ้าต้องมีการขอยืมทรัพย์สินของราชการไปใช้ปฏิบัติงาน บุคลากร
                 ในสถานศึกษามีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง มากน้อยเพียงใด
                 i22 บุคคลภายนอกหรือภาคเอกชน มีการนำทรัพย์สินของ
                 ราชการไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องจากสถานศึกษา
                 มากน้อยเพียงใด
                 i23 ท่านรู้แนวปฏิบัติของสถานศึกษาของท่าน เกี่ยวกับการใช้
                 ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง มากน้อยเพียงใด
                 i24 สถานศึกษาของท่าน มีการกำกับดูแลและตรวจสอบการใช้
                 ทรัพย์สินของราชการ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำไปใช้ประโยชน์
                 ส่วนตัว กลุ่ม หรือพวกพ้อง มากน้อยเพียงใด


                       ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต (i25 – i30)
                       เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในสถานศึกษาต่อการแก้ไขปัญหา

               การทุจริตของสถานศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญของผู้อำนวยการสถานศึกษาในการ
               ต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง โดยสถานศึกษาจะต้องทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตใน
               สถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และจัดทำแผนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของสถานศึกษา
               เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพการ

               แก้ไขปัญหาการทุจริตของสถานศึกษา ที่จะต้องทำให้การทุจริตในสถานศึกษาลดลงหรือไม่มีเลย และจะต้อง
               สร้างความเชื่อมั่นให้บุคลากรภายใน ในการร้องเรียนเมื่อพบเห็นการทุจริตภายในสถานศึกษาด้วย นอกจากนี้
               สถานศึกษาจะต้องมีกระบวนการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการทุจริตภายในสถานศึกษา รวมถึงการนำผลการ
               ตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ จากทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาไปปรับปรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการ

               ทุจริต ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ ดังนี้





                                                                                                               38
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48