Page 21 - 10
P. 21

10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน                         13

                      5. ความต้องการงบประมาณสำหรับการจัดการศึกษาที่เหมาะสม โดยปกติการจัดการศึกษา

             ตามหลักสูตรจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
             และมีคุณภาพมาตรฐาน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอน ค่าตอบแทนบุคลากร ค่าพาหนะ
             เดินทาง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ ฯลฯ แต่เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจมีการ

             เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินลดลง แต่ค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีงบประมาณเพิ่มเติมให ้
             เพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาหลักสูตรแต่ละระดับ ประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางาน การประเมิน

                                                                                          ี
             หลักสูตรจะทำให้ทราบข้อมูลงบประมาณที่จำเป็น ทั้งงบประมาณต่อหัวและงบประมาณต่อกลุ่มผู้เรยน
             เพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อไป


             • จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน


                      ดัชนี้ชีี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษาจะมุ่งเนนที่คุณภาพของหลักสูตร กระบวนการ

                                                         ื่
             จัดการศึกษาและผลผลิตของหลักสูตรเปนหลักมากกว่าเรองของปริมาณ กล่าวคือ การประเมินหลักสูตร
             และการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

                      1. เพื่อตรวจสอบว่าเอกสารหลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย จุดประสงค์สาขาวิชา

             มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพสาขาวิชาและสาขางาน โครงสร้าง รายละเอียดรายวิชา และการจัดแผน
             การเรียนตลอดหลักสูตร มีความสอดคล้องกันหรือไม่และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา

             ของระดับหลักสูตรนั้นหรือไม่ การประเมินในลักษณะนี้ส่วนมากจะดำเนินการก่อนการนำหลักสูตรไปใช้
             โดยคณะกรรมการประเมินจะทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคุณภาพของเอกสารหลักสูตร ซึ่งอาจจะ

             ดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การส่งเอกสารหลักสูตรให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนพิจารณาแล้วนำข้อเสนอแนะ
             ของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไข การจัดประชุมสนทนากลุ่ม (focus group) การจัดประชุมนำเสนอ
             หลักสูตรแกคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร เป็นต้น
                      ่

                      2. เพื่อตรวจสอบว่าการนำหลักสูตรไปใช้หรือกระบวนการใช้หลักสูตรมีประสิทธิภาพ
             สอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ การประเมินในส่วนนี้จะมุ่งเน้นการประเมิน

             การบริหารงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ลักษณะการประเมิน
             จะเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนา (Evaluation for Improvement) โดยใช้วิธีการประเมิน

             เชิงคุณภาพเป็นหลัก เช่น การสัมภาษณ์ การซักถาม การสังเกตพฤติกรรม การประเมินจากผลการ
                                                                      ้
             เรียนรู้และผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน เป็นต้น ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่จะใหข้อมูลคือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
             หลักสูตรโดยตรง เช่น ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน นักการ ภารโรง เป็นต้น
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26