Page 9 - คู่มือ ITA2021
P. 9

ส่วนที่ 2

                                                     วิธีการประเมิน


               2.1 แหล่งข้อมูลในการประเมิน
                       ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ
               ซึ่งในที่นี้จะใช้คำว่า “สถานศึกษา/สถานศึกษาอาชีวศึกษา” หมายถึง “สถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ”

               สำหรับแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย 3 แหล่ง ดังนี้
                           1)  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน หมายถึง บุคลากรของสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ
               ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่น ๆ ที่ทำงานให้กับสถานศึกษามาเป็นระยะเวลา
               ไม่น้อยกว่า 1 ปี

                       2)  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก หมายถึง หมายถึง บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ
               อื่น ๆ รวมทั้ง ผู้ปกครอง และผู้เรียน ที่เคยมารับบริการหรือมาติดต่อตามภารกิจของสถานศึกษา นับตั้งแต่ใน
               ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา
                       3)  เว็บไซต์ หมายถึง เว็บไซต์หลักของสถานศึกษาที่ใช้ในการสื่อสารต่อสาธารณะ


               2.2 เครื่องมือในการประเมิน
                       เครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา
               ประกอบไปด้วย 3 เครื่องมือ เพื่อเก็บข้อมูลจากแต่ละแหล่งข้อมูล โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                       1)  แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency
               Assessment: IIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบการรับรู้ของตนเอง โดยมีวัตถุโดยมี

               วัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน โดยเป็นการประเมินระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้
               ส่วนเสียภายในที่มีต่อสถานศึกษาตนเอง ใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่ ตัวชี้วัดการใช้
               งบประมาณ ตัวชี้วัดการใช้อำนาจ ตัวชี้วัดการใช้ทรัพย์สินของราชการ และตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาการ

               ทุจริต
                       2)  แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency
               Assessment: EIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์
               เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก โดยเป็นการประเมินระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

               ภายนอกที่มีต่อสถานศึกษา ใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพการดำเนินงาน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการ
               สื่อสาร และตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน
                       3)  แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency
               Assessment: OIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตอบมีหรือไม่มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมทั้งระบุ URL เพื่อ

               เชื่อมโยงไปสู่แหล่งที่อยู่ของการเปิดเผยข้อมูล และระบุคำอธิบายเพิ่มเติมประกอบคำตอบ โดยมีวัตถุประสงค์
               เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของสถานศึกษา โดยเป็นการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของ
               สถานศึกษาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์หลักของสถานศึกษาได้ ใน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
               ตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูล (ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การบริหารเงิน

               งบประมาณ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใส) และตัวชี้วัดการป้องกัน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14