Page 27 - 10
P. 27

10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน                         19

                        ประเด็นการประเมินสามารถครอบคลุมตัวแปรต่าง ๆ ที่ช่วยประกอบการตัดสินใจ ในการ

             ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำเข้าสู่ระบบ
             การศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะ คุณวุฒิ คุณสมบัติและประสบการณ์ของผู้บริหารและผู้สอน คุณภาพของ
             ผู้เรียนและพื้นฐานความรู้ผู้เรียน วิธีการจัดการศึกษา การสนับสนุนส่งเสริมของคณะกรรมการบริหาร

             หลักสูตร และปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ หนังสือ ตำรา เอกสารหลักสูตร
             งบประมาณ อาคารสถานที่ เป็นต้น


                      3. การประเมินกระบวนการ (Process evaluation : P) เป็นการประเมินกระบวนการ
             ในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้ โดยจะประเมินเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียน

             การสอนของครู เริ่มตั้งแต่การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัด

             ประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน การประเมิน
             กระบวนการจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้

                      4. การประเมินผลผลิต (Products evaluation : P) เป็นการประเมินผลที่เกิดจากการ
             ปฏิบัติงาน เพื่อวัดและติดตามผลที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร และผลที่เกิดขึ้นเมื่อใช้

             หลักสูตรเสร็จสิ้น ทั้งนี้ เพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการใช้หลักสูตรต่อ หรือจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขบางจุด
             หรือจะยุติการใช้หลักสูตรนั้น ดังนั้นประเด็นการประเมินจะประเมินเกี่ยวกับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็น
             ผลผลิตจากการใช้หลักสูตร ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ

             ทักษะความสามารถในการปฏิบัติ

                   ❖ รูปแบบ CIPPIEST Model ของ Daniel L. Stufflebeam and Shinkfield


                      รูปแบบการประเมิน CIPP  Model นี้พัฒนามาจาก CIPP Model โดยปรับขยายการ
                                           IEST
             ประเมินผลผลิตออกเป็นการประเมินผลกระทบ การประเมินประสิทธิผล การประเมินความยั่งยืน และ

             การประเมินการถ่ายโยงความรู้ ดังนี้

                      1. การประเมินผลกระทบ (Impact evaluation : I) เป็นการประเมินผลงานหรือผลที่เกิด
             จากการเรียนและนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการทำงานได้ เช่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยหรือผู้ร่วมวิจัย มี
             ผลงานทางวิชาการ การได้รับการยอมรับจากสังคมและชุมชน เป็นต้น


                      2. การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness  evaluation : E) เป็นการประเมินผลที่เกิด
             กับตัวผู้เรียนหลังจากจบหลักสูตร เกี่ยวกับคุณภาพและความสำเร็จในระดับสูง หรือตรวจสอบ
             ความก้าวหน้าด้านความรู้ ความสามารถ หลังจากปฏิบัติงานไปแล้ว 6-12 เดือน เช่น ความเชี่ยวชาญ

             ที่เกิดขึ้น ความมั่นใจในองค์ความรู้ที่นำไปปฏิบัติงาน การพัฒนางานด้านวิชาการและการวิจัยจนสามารถ
             ตีพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชนได้
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32