Page 31 - 10
P. 31

10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน                         23

                      4. ข้อมูลที่ได้จากการประเมินไม่เที่ยงตรง เนื่องจากผู้ประเมินกลัวผลการประเมินไม่ดีจึง

             ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง หรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินจะออกมาไม่ดีจึงให ้
             ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
                      5. เน้นเฉพาะการประเมินในเชิงปริมาณ หรือเน้นการประเมินเชิงปริมาณมากกว่าเชิง

             คุณภาพ ส่งผลให้ได้ข้อมูลผิวเผินไม่ลึกซึ้ง ไม่สมบูรณ์ ไม่ชัดเจน
                      6. การประเมินไม่ครบหรือครอบคลุมทั้งระบบ เน้นการประเมินเฉพาะด้าน เช่น เน้นการ

             ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉพาะด้านวิชาการ เป็นต้น ส่งผลให้ไม่ทราบสาเหตุหรือสภาพปัญหาที่
             แน่ชัด

                      7. การดำเนินการประเมินไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียง
             พอที่จะนำมาวิเคราะห์สรุปผล ผลการประเมินไม่น่าเชื่อถือและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

                      8. เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน ส่งผลให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ
                      9. ไม่ได้นำผลการประเมินไปใช้อย่างจริงจัง ส่งผลใหหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
                                                               ้
             ไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตรงตามที่ควรจะเป็น



              การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

              อาชีวศึกษา


                      ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562
             ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562  ข้อ 9 กำหนดว่า “ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบัน

             การอาชีวศึกษาและสถานศึกษา จัดให้มีการประเมินการประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการ
             เรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่าง

             ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 5 ปี ...” และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ
             อาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562  เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ

             ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562  และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสาย
             เทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 กำหนดว่า “การประกัน

             คุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการ
                                                                                   ี
             อาชีวศึกษาและสถานศึกษากำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรยนการสอน
             ในสาขาวิชาที่เปิดสอน โดยมีองค์ประกอบในการประกันคุณภาพอย่างน้อย 4 ด้าน คือ

                      1.  หลักสูตรที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ
                      2.  ครู ทรัพยากรและการสนับสนุน
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36