Page 52 - 6
P. 52

46                                                            6 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร



                                                          ้
             กิจกรรมส่งเสริมการป้องกันการทุจริตด้านอาชีวศึกษาใหแก่สถานศึกษาเลือกนำไปประยุกต์ใช้ในการ
             จัดการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ หรือจัดในรูปของกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตามบริบทและความพร้อมของ
                                      ้
             สถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนใหมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถคดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน
                                                              ิ
             กับผลประโยชน์ส่วนรวม มีความละอายและไม่ทนต่อการทุจริต ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
             พอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต เพื่อความเป็นพลเมืองดีของสังคมชุมชมและประเทศชาติ

                      แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการป้องกันการทุจริต


                      กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ สร้าง
             ความตระหนักและปลูกจิตสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถี
             ประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของ

             สถาบันในครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้
             และอยู่ดีมีสุข โดยกำหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนใหเกิด
                                                                                         ้
             จิตสำนึกที่ดีในการประพฤติตน ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ

                      สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้นำหลักสูตรด้านการป้องกันการทุจริตมาส่งเสริม
             แนะนำให้สถานศึกษานำไปจัดในรูปของกิจกรรมส่งเสริมการป้องกันการทุจริต โดยที่สถานศึกษาสามารถ

             นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้โดยบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ และหรือจัดเป็น
             กิจกรรมเสริมหลักสูตรตามบริบทและความพร้อมของสถานศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรมเสนอแนะ ดังนี้

                      หน่วยที่ 1 ปรับพื้นฐานความคิดต้านทุจริตและส่วนรวม
                               1.1 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

                               1.2 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
                               1.3 Strong : จิตพอเพียงต้านทุจริต

                               1.4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อการทุจริต
                      หน่วยที่ 2 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

                               2.1 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
                               2.2 ทักษะการปรับกระบวนการคิด
                               2.3 การมีส่วนร่วมของชุมชน

                      หน่วยที่ 3 ยกระดับดัชนี สร้างคนดีในสังคม
                               3.1 การยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต

                               3.2 การสร้างคนดีในสังคม
                      หน่วยที่ 4 ปราบทุจริตด้วยจิตพอเพียง
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57