Page 21 - 3
P. 21
14 3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน
แนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
การพัฒนารายวิชาในหลักสูตรมี 2 กรณี คือ การปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดของรายวิชาที่มี
อยู่แล้วในหลักสูตร และการพัฒนารายวิชาใหม่เพิ่มเติมในหลักสูตร โดยมีข้อพิจารณาและกระบวนการ
ดำเนินการ ดังนี้
• กรณีปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดของรายวิชาที่มีอยู่แล้วในหลักสูตร
การปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดของรายวิชา มีข้อพิจารณาและกระบวนการ ดังนี้
1. สามารถดำเนินการได้ทุกรายวิชาในหลักสูตร โดยครูผู้สอนต้องวิเคราะห์เหตุผลและ
ความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัยหรือสอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับของหลักสูตรและไม่ซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น
2. สามารถดำเนินการเพิ่มเติมรายละเอียดของรายวิชาได้ในแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา
เท่านั้น ไม่สามารถแก้ไข เพิ่มเติมหรือตัดทอนรายละเอียดของรายวิชาในส่วนของจุดประสงค์รายวิชา
สมรรถนะรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา รวมทั้งไม่สามารถปรับเปลี่ยนรหัสวิชา ชื่อวิชา เวลาเรียนและ
จำนวนหน่วยกิตของรายวิชา เนื่องจากหลักสูตรได้รับการอนุมัติ ประกาศใช้และรับรองคุณวุฒิแล้ว
3. รายละเอียดของรายวิชาที่พัฒนาเพิ่มเติมในแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่สอน สามารถ
ทำได้โดยการเพิ่มหน่วยการเรียนรู้ หัวข้อการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้รายหน่วย สมรรถนะประจำ
หน่วย และหรือสาระการเรียนรู้
4. ครูผู้สอนนำเสนอเหตุผลความจำเป็นและรายละเอียดของรายวิชาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้นตอน
• กรณีพัฒนาหลักสูตรรายวิชาใหม่เพิ่มเติมในหลักสูตร
ข้อพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาใหม่เพิ่มเติมในหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาใหม่เพิ่มเติมในหลักสูตร มีข้อพิจารณาดังนี้
1. การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตร ต้องเป็นการพัฒนารายวิชาใหม่ที่ยังไม่เคยมี
ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราชปัจจุบันที่มี
การใช้หลักสูตร และต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับรายวิชาเดิมที่มีอยู่ในหลักสูตร
2. สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันที่มีความประสงค์จะพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตร
จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรว่าสามารถดำเนินการได้ในหมวดวิชา และกลุ่มหรือ
กลุ่มวิชาใด ดังนี้