Page 18 - 3
P. 18
3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน 11
แนวปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติม
การพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติม เป็นการพัฒนาสาขางานใหม่ที่ยังไม่เคยมีในหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราชปัจจุบันที่มีการใช้
หลักสูตร มีข้อพิจารณาและกระบวนการดำเนินการ ดังนี้
• ข้อพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติม
การพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติม มีข้อพิจารณาดังนี้
1. สาขางานถือเป็นงานย่อยภายใต้สาขาวิชา จึงต้องพิจารณาว่าสาขางานที่จะพัฒนาเพิ่มเติมนั้น
ควรอยู่ในหลักสูตรสาขาวิชาใด โดยต้องสัมพันธ์กับสาขาวิชา ไม่ซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับสาขางานที่มีอยู่เดิม
และต้องมีระดับเท่ากันกับสาขางานอื่นในสาขาวิชานั้นด้วย เนื่องจากผู้เรียนต้องมีสมรรถนะพื้นฐานและ
สมรรถนะวิชาชีพของสาขาวิชานั้นก่อนเลือกเรียนสาขางานภายใต้สาขาวิชา
ึ
2. การกำหนดมาตรฐานการศกษาวิชาชีพของสาขางาน ชื่อสาขางานและรายวิชาชีพเลือกที่
ิ
จะพัฒนาเพิ่มเติมต้องสามารถองกับข้อมูลอาชีพ มาตรฐานอาชีพและความต้องการกำลังคนจากผลการวิจัย
การสำรวจ ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สภาอุตสาหกรรมและหรือสภาวิชาชีพ ฯลฯ
ทั้งนี้ กลุ่มรายวิชาชีพเลือกต้องสะท้อนความเป็นสาขางานนั้น ไม่ใช่เกิดจากการนำ
รายวิชาจากสาขางานอื่น ๆ มารวมเป็นสาขางานใหม่ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด นอกจากนี้จะต้องมี
รายวิชาให้เลือกเกินกว่าจำนวนหน่วยกิตที่กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือกกำหนดไว้อย่างน้อย 2-3 รายวิชา
โดยควรจัดลำดับรายวิชาที่ควรเรียนก่อน-หลังไว้ด้วย สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่จัดรายวิชาไว้มากเกินไปจน
ไม่สะท้อนความเป็นสาขางานและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขางานที่กำหนดไว้
3. ต้องมีข้อมูลสนับสนุนถึงเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับความต้องการหรือการจ้างงานอาชีพ
ทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่เชื่อถือได้ และมีปริมาณเพียงพอต่อการวางแผนและลงทุนผลิตกำลังคน
ในสาขางานที่จะพัฒนาเพิ่มเติม รวมทั้งต้องมีข้อมูลจำนวนความต้องการของผู้ที่จะสมัครเข้าศึกษาที่
แน่นอนและเพียงพอต่อการเปิดสอนสาขางานที่จะพัฒนาเพิ่มเติม
4. ผู้ที่จะพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติมต้องมีอำนาจ หรือได้รับมอบอำนาจ หรือได้รับอนุญาต
ตามกฎหมาย ข้อบังคับจากองค์กรวิชาชีพในการจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าสู่อาชีพนั้น
5. ต้องมีข้อมูลของสถานศึกษาที่จะเปิดสอนหลักสูตรสาขางานที่จะพัฒนาเพิ่มเติมนั้น
เกี่ยวกับจำนวนและคุณสมบัติ ความรู้ ความชำนาญและความพร้อมของครูผู้สอน ความพร้อมของ
สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อาคารสถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้สนับสนุน
การจัดการศึกษาที่มีจำนวนเพียงพอ หรือสามารถจัดหามาได้ครบเมื่อจะเปิดหลักสูตร