Page 9 - 3
P. 9

2                                            3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน



                                                                                        ้
             ปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วน โดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพืนฐาน
             หรือรูปแบบของหลักสูตร

                      Good (1973 : 157-158) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ การ
             ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

             เพื่อให้เหมาะกับโรงเรียนและระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการ
             ประเมินผล ส่วนคำว่าการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึง การแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิมเป็น

             การสร้างโอกาสทางการเรียนใหม่

                      Oliva (1992 : 13) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนการจัดกิจกรรม

             การเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์
             ที่กำหนดไว้ และยังต้องวางแผนประเมินผลให้ทราบชัดว่าการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนนั้นได้บรรลุตาม

             ความมุ่งหมายและจุดประสงค์จริงหรือไม่ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้รับรู้และแก้ไขปรับปรุงต่อไป
             หลักสูตรที่ดีจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการเวลา เศรษฐกิจ สังคม
             การเมือง ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ


                      จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนา
             หลักสูตรเพิ่มเติมเป็นการพัฒนาหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม

             ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยสามารถพัฒนาได้ทั้งหลักสูตรระดับสาขาวิชา หลักสูตรระดับสาขา
             งานและหลักสูตรระดับรายวิชา โดยผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้ดำเนินการ


               แนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา



                      การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาเป็นการนำสมรรถนะในงานอาชีพของมาตรฐานอาชีพหรือ
             มาตรฐานสมรรถนะ (Occupational Standards /Competency Standards) ตามระดับคุณวุฒิ
             วิชาชีพ มากำหนดเป็นมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางานในหลักสูตรแต่ละระดับ

             คุณวุฒิอาชีวศึกษา แล้วพัฒนารายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานสมรรถนะที่
             กำหนดเพื่อเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบาย ยุทธศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ สังคมและ

             เทคโนโลยี รวมทั้งความต้องการกำลังคนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตร
             อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยในทุก 5 ปี นอกจากนี้ ก็อาจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาหลักสูตร

             เพิ่มเติมในระหว่างวงรอบของการใช้หลักสูตรนั้น ๆ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของ
             งานอาชีพได้เช่นกัน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14