Page 14 - 3
P. 14
3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน 7
ทั้งนี้ เอกสารเล่มนี้จะนำเสนอถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติม
ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม การพัฒนาหลักสูตรสาขางานเพิ่มเติม และการพัฒนา
หลักสูตรรายวิชาหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม
แนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม
การพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม เป็นการพัฒนาสาขาวิชาใหม่ที่ยังไม่เคยมีในหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราชปัจจุบันที่มีการใช้
หลักสูตร มีข้อพิจารณาและกระบวนการดำเนินการ ดังนี้
• ข้อพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม
การพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติม มีข้อพิจารณาดังนี้
1. สาขาวิชาที่จะพัฒนาเพิ่มเติมควรอยู่ในหลักสูตรระดับใด ประเภทวิชาใด โดยต้องไม่ซ้ำซ้อน
หรือใกล้เคียงกับสาขาวิชาที่มีอยู่เดิม และต้องมีระดับเท่ากันกับสาขาวิชาอื่นในหลักสูตรนั้น นอกจากนี้
จะต้องมีอย่างน้อย 1 สาขางาน ซึ่งอาจชื่อเดียวกับชื่อสาขาวิชาและมีเงื่อนไขการเลือกเรียนที่ชัดเจน
2. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชา ชื่อสาขาวิชาและรายวิชาชีพบังคับที่
ิ
จะพัฒนาเพิ่มเติมต้องสามารถองกับข้อมูลอาชีพ มาตรฐานอาชีพและความต้องการกำลังคนจากผลการวิจัย
การสำรวจ ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สภาอุตสาหกรรม และหรือสภาวิชาชีพ
ฯลฯ เนื่องจากรายวิชาชีพบังคับในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐานและกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ คือ
ส่วนที่ ก.พ. รับรองความเป็นสาขาวิชา และควรจัดเรียงลำดับรายวิชาที่ควรเรียนก่อน-หลังด้วย
3. ต้องมีข้อมูลสนับสนุนถึงเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับความต้องการหรือการจ้างงาน และ
การศึกษาต่อทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่เชื่อถือได้ และมีปริมาณเพียงพอต่อการวางแผนและลงทุนผลิต
กำลังคนในสาขาวิชาที่จะพัฒนาเพิ่มเติม รวมทั้งต้องมีข้อมูลจำนวนความต้องการของผู้ที่จะสมัครเข้า
ศึกษาที่แน่นอนและเพียงพอต่อการเปิดสอนสาขาวิชาที่จะพัฒนาเพิ่มเติมนั้น
4. ผู้ที่จะพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเพิ่มเติมต้องมีอำนาจ หรือได้รับมอบอำนาจ หรือได้รับอนุญาต
ตามกฎหมาย ข้อบังคับจากองค์กรวิชาชีพในการจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าสู่อาชีพนั้น
5. ต้องมีข้อมูลของสถานศึกษาที่จะเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาที่จะพัฒนาเพิ่มเติมนั้น
เกี่ยวกับจำนวนและคุณสมบัติ ความรู้ ความชำนาญและความพร้อมของครูผู้สอน ความพร้อมของ
สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อาคารสถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้สนับสนุน
การจัดการศึกษาที่มีจำนวนเพียงพอ หรือสามารถจัดหามาได้ครบเมื่อจะเปิดหลักสูตร