Page 52 - 4
P. 52
44 4 การนำหลักสูตรไปใช้
3. สมรรถนะประจำหน่วย
4. จุดประสงค์การเรียนรู้
5. สาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนรู้
7. สื่อการเรียนรู้
8. หลักฐานการเรียนรู้
9. การวัดและประเมินผล
10. งานที่มอบหมาย
11. เอกสารอ้างกิง
12. บันทึกหลังการสอน
การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้หน่วยงาน สถานประกอบการ ชุมชน สังคม และหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความมั่นใจ
ในคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ตลอดจน
คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาทุกระดับจึงกำหนดแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ให้ทุกหลักสูตรกําหนดระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนไว้
ให้ชัดเจน อย่างน้อยประกอบด้วย 4 ด้าน คือ
1.1 หลักสูตรที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ
1.2 ครู ทรัพยากรและการสนับสนุน
1.3 วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
1.4 ผู้สําเร็จการศึกษา
2. ในการประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้ดำเนินการในทุก
สาขาวิชาและสาขางานที่เปิดสอน โดยสถานศึกษาหรือสถาบันต้องดำเนินการประเมิน จัดเก็บข้อมูลและ
สรุปรายงานตามประเด็นที่กำหนดในทุกภาคเรียนตลอดหลักสูตร
3. ให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้
มีการประเมินและรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรที่อยู่ในความ
รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 5 ปี