Page 51 - 4
P. 51
4 การนำหลักสูตรไปใช้ 43
3. การประกาศใช้หลักสูตรให้ทำเป็นประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4. การพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถ
ดำเนินการได้ โดยต้องรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ
5. การเพิ่มเติมเนื้อหาสาระในคำอธิบายรายวิชา ครูผู้สอนสามารถดำเนินการในแผนการ
จัดการเรียนรู้ของรายวิชาได้ โดยต้องรายงานผู้บริหารสถานศึกษาทราบตามลำดับขั้นตอนที่สถานศึกษา
กำหนด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็น
การจัดการเรียนการสอนรายวิชามุ่งเน้นสมรรถนะ
แม้ว่าหลักสูตรอาชีวศึกษาทุกประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางาน จะพัฒนาโดยยึดโยงกับ
มาตรฐานอาชีพและหรือความต้องการของอาชีพ เป็นหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะตั้งแต่ระดับมาตรฐาน
การศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน จนถึงมาตรฐานของสมรรถนะรายวิชา แต่หากสถานศึกษา
โดยเฉพาะแผนกวิชาและครูผู้สอนไม่ได้ทำความเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะ ไม่ได้จัดการเรียนการสอน
และวัดประเมินผลโดยมุ่งเน้นสมรรถนะ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนคงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และไม่มี
คุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ การประกอบอาชีพอิสระและหรือการศึกษาต่อ
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องมีรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการและมุ่งเน้นสมรรถนะ สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เลือกรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้
และการวัดประเมินผลที่เน้นสมรรถนะ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็น
รายบุคคล โดยมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์รายละเอียดของรายวิชาที่สอน รวมทั้งรายวิชาอื่นในหลักสูตรที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
2. กำหนดหน่วยการเรียนรู้ รายการสอนและเวลาที่ใช้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ 17 สัปดาห์
ส่วนสัปดาห์ที่ 18 ให้เป็นสัปดาห์ของการประเมินผลปลายภาคเรียน
3. จัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อกำหนดความสำคัญของหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งกรอบ
การประเมินพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัย
4. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้และรายครั้งที่จัดการเรียนการสอน
5. จัดทำสื่อ ใบช่วยสอน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมิน
สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ ควรประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้
1. หัวข้อเรื่อง
2. สาระสำคัญ