Page 54 - 8
P. 54
48 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี
- รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ กลุ่มโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ
- รายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
- รายวิชาในกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ทั้งนี้ สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องมั่นใจว่าผู้เรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวิชาเหล่านั้น โดยครูผู้สอนและครูฝึกจะต้องร่วมกัน
จัดทำแผนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกันวัดประเมินผลรายวิชาตามระเบียบการจัดการศึกษา
และประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร
6. สถานศึกษาและสถานประกอบการควรได้มีการติดตามประเมินผลการจัดฝึกอาชีพใน
การศึกษาระบบทวิภาคีในแต่ละภาคเรียนและตลอดหลักสูตร เพื่อนำผลมาพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการ
จัดแผนการเรียนให้เกิดประโยชน์และบรรลุผลตามจุดประสงค์และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องต่อไป
การจัดทำแผนการฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาค ี
หัวใจสำคัญในการจัดการเรียนรู้แต่ละรายวิชา คือ การวางแผนที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้
ล่วงหน้าสำหรับนำไปใช้การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลในรายวิชานั้นให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวิชา
ที่กำหนดไว้ โดยแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาในสถานศึกษา เรียกว่า “แผนการจัดการเรียนรู้”
จัดทำโดยครูผู้สอนที่รับผิดชอบรายวิชานั้น ส่วนการแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทวิภาคีในการ
จัดฝึกอาชีพในสถานประกอบการ เรียกว่า “แผนการฝึกอาชีพ” จัดทำโดยครูผู้สอนของสถานศึกษา
ร่วมกับครูฝึกของสถานประกอบการ
แผนการฝึกอาชีพ คือ แผนงานของสถานประกอบการที่ใช้ในการฝึกอาชีพให้กับผู้เรียน
ระบบทวิภาคี เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในอาชีพและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามลักษณะงาน
ของสถานประกอบการ สอดคล้องกับหลักสูตรแต่ละระดับ โดยจัดทำเป็นเอกสาร ใบงาน ทั้งนี้ แผนการ
ฝึกอาชีพจะประกอบด้วย แผนการฝึกอาชีพตลอดหลักสูตรและแผนการฝึกอาชีพรายหน่วย
1. แผนการฝึกอาชีพตลอดหลักสูตร หมายถึง แผนงานของสถานประกอบการเพื่อจัดเตรียม
บุคลากร สถานที่ฝึก วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการฝึกอาชีพให้แก่ผู้เรียนระบบทวิภาคีตลอดระยะเวลา
การฝึกอาชีพในสถานประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการฝึกอาชีพ
2. แผนการฝึกอาชีพรายหน่วย หมายถึง แผนงานของครูฝึกเพื่อจัดเตรียมเนื้อหา วิธีสอน
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ การประเมินผลในการฝึกอาชีพให้แก่ผู้เรียนระบบทวิภาคี เพื่อให้มีระดับความรู้
ความสามารถตามจุดประสงค์ที่กำหนดในแต่ละงานที่ทำการฝึกอาชีพ