Page 53 - 8
P. 53

ี
             8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค                                              47

                   • ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการจัดแผนการเรียนในการศึกษาระบบทวิภาคี


                      1. การจะเลือกจัดแผนการเรียนรูปแบบใดนั้น สถานศึกษาและสถานประกอบการควร

             พิจารณาร่วมกัน โดยคำนึงถึงความพร้อมและความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษา
             รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดของการจัดแผนการเรียนแต่ละรูปแบบ
                      2. กรณี “ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน” แต่สถานศึกษาต้องส่งฝึกอาชีพในสถานประกอบการหลาย

             แห่ง ควรใช้รูปแบบและระยะเวลาในการจัดส่งฝึกอาชีพเหมือนกัน รายละเอียดของงานในแผนการฝึก
             อาชีพอาจแตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละสถานประกอบการแต่สามารถมุ่งเน้นสมรรถนะวิชาชีพ

             ของสาขางานที่เรียนได้เหมือนกัน
                      3. การจัดรายวิชาในแผนการเรียนแต่ละภาคเรียน ให้พิจารณาตามข้อเสนอแนะใน
             หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรแต่ละระดับ โดยจำนวนหน่วยกิตแต่ละภาคเรียนปกติไม่ควรเกิน 22 หน่วยกิต

             การเรียนภาคฤดูร้อนและการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ไม่ควรเกิน 12 หน่วยกิต ส่วนเวลาเรียนในแต่ละ
             สัปดาห์ไม่ควรเกิน 35 ชั่วโมง
                      4. ในภาคเรียนที่จัดฝึกอาชีพในสถานประกอบการบางวันและเรียนในสถานศึกษาบางวันใน

             หนึ่งสัปดาห์ ควรพิจารณารายวิชาที่เรียนและฝึกอาชีพในแผนการเรียนให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์
             และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้เรียน
                      5. เนื่องจากโครงสร้างหลักสูตรกำหนดจำนวนหน่วยกิตของกลุ่มรายวิชาทวิภาคีระดับ ปวช.

             ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และระดับ ปวส. ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ซึ่งหากจัดฝึกอาชีพในสถาน-
             ประกอบการ 1 ปีการศึกษา หรือ 2 ภาคเรียน จำนวนหน่วยกิตสำหรับการจัดฝึกอาชีพในระดับ ปวช. จะ

             เฉลี่ย 9 หน่วยกิตต่อภาคเรียน และในระดับ ปวส. จะเฉลี่ย 6 หน่วยกิตต่อภาคเรียน ดังนั้นสถานศึกษา
             และสถานประกอบการควรร่วมกันพิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับลักษณะงานของสถานประกอบการ
             ที่สามารถนำไปเรียนและฝึกอาชีพในแต่ละภาคเรียนได้ รวมทั้งรายวิชาที่สามารถสอนโดยใช้ระบบ

             เครือข่าย เพื่อไม่ให้จำนวนหน่วยกิตในภาคเรียนและเวลาเรียนต่อสัปดาห์ในสถานศึกษามากเกินไป ซึ่งจะ
             มีผลกระทบต่อการจัดตารางเรียนตารางสอน การใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สื่อและครุภัณฑ์การศึกษา

             รวมทั้งเวลาในการทำงานมอบหมายและศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมของผู้เรียน
                        รายวิชาที่สามารถนำไปจัดเรียนและฝึกปฏิบัติในภาคเรียนที่จัดฝึกอาชีพในสถาน-
             ประกอบการ ได้แก่

                        - รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง
                        - รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ กลุ่มวิชาสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน
                        - รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ กลุ่มวิชาสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ

                        - รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ กลุ่มฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58