Page 58 - 8
P. 58
52 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี
้
สำหรับการจัดทำแผนการนิเทศ ใหคิดชั่วโมงการนิเทศตามเวลาชั่วโมงสอนปกติ หาก
ชั่วโมงสอนเกินภาระงานที่กำหนดสามารถเบิกค่าสอนเกินภาระงานได้ตามระเบียบของทางราชการ ส่วน
การเดินทางไปนิเทศ ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง
3. วัดและประเมินผลการฝึกอาชีพเป็นรายวิชาอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่หลากหลายตาม
จุดประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวิชา โดยครูผู้สอนของสถานศึกษาร่วมกับครูฝึกของสถาน-
ประกอบการ โดยเน้นการประเมินสภาพจริงจากการปฏิบัติงาน จากผลงานและร่องรอยหลักฐานการ
ปฏิบัติงานในบันทึกการฝึกอาชีพ บันทึกคุณธรรม จริยธรรมและจิตอาสา และแฟ้มสะสมผลงานของ
ผู้เรียน ทั้งนี้ โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการ
เรียนตามหลักสูตรแต่ละฉบับ
• การดำเนินการหลังการจัดฝึกอาชีพ
การดำเนินการในขั้นตอนนี้ ได้แก่
1. การตัดสินผลการฝึกอาชีพและให้ระดับผลการเรียน โดยครูผู้สอนของสถานศึกษาร่วมกับ
ครูฝึกของสถานประกอบการนำผลจากการประเมินความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน ผลงาน รวมทั้ง
พฤติกรรมลักษณะนิสัยของผู้เรียนในการฝึกอาชีพตลอดภาคเรียนในแต่ละรายวิชามาตัดสินผลการฝึก
อาชีพ พร้อมทั้งให้ระดับผลการเรียนแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ
กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร และนำเสนอ
อนุมัติผลการเรียนต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา
2. การจัดปัจฉิมนิเทศ ควรดำเนินการในทุกภาคเรียนที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อเปิด
โอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพ รวมทั้งปัญหา
อุปสรรคต่าง ๆ ที่พบในภาคเรียนนั้น เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการศึกษาทวิภาคีในภาคเรียนต่อไป
3. การจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับผู้เรียนระบบทวิภาคี ให้ปฏิบัติตามระเบียบ
กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแต่ละฉบับ
ได้แก่
3.1 เอกสารรายงานผลการเรียนในแต่ละภาคเรียน
3.2 ใบรับรองการฝึกอาชีพในแต่ละภาคเรียน
3.3 ระเบียนแสดงผลการเรียนตามหลักสูตร (รบ.)
็
3.4 แบบรายงานผลการเรียนของผู้ที่สำเรจการศึกษาหลักสูตร
3.5 ประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
3.6 วุฒิบัตรผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามหลักสูตร