Page 46 - คู่มือ ITA2021
P. 46
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
(External Integrity and Transparency Assessment: EIT)
คำชี้แจง
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก หมายถึง บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานรัฐอื่น ๆ
รวมทั้ง ผู้ปกครอง ผู้เรียน และศิษย์เก่า ที่เคยมารับบริการหรือมาติดต่อตามภารกิจของสถานศึกษา นับตั้งแต่
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา
2. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ จำนวนร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก แต่
จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ตัวอย่าง กรณีสถานศึกษามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกจำนวนน้อยกว่า 30 คน
ให้เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกทั้งหมด กรณีสถานศึกษามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกจำนวน
มากกว่า 4,000 คน ให้เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกไม่น้อยกว่า 400 ตัวอย่าง
3. การนำเข้าข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก โดยให้สถานศึกษาระบุจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ภายนอก และกรอกรายชื่อตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกของสถานศึกษาตามแบบฟอร์ม หรือคณะที่
ปรึกษาแนะนำ (ผู้ดูแลระบบของสถานศึกษาเป็นผู้กรอกข้อมูลและผู้อำนวยการจะต้องตรวจสอบและอนุมัติ
ข้อมูล)
4. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก สามารถเข้ามาตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
(EIT) ของสถานศึกษาได้ โดยการค้นหาช่องทางการเข้าตอบจากระบบสารสนเทศ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ภายนอกที่เคยมารับบริการหรือมาติดต่อกับสถานศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีโอกาสได้เข้ามาตอบ
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ได้ด้วยตนเอง
5. สถานศึกษารวบรวมข้อมูลที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่เข้ามาตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียภายนอก (EIT) ประมวลผลนำเสนอบนเว็บไซต์ของสถานศึกษา
6. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) มี 2 ตอน ได้แก่
6.1 ตอนที่ 1 ข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ประกอบด้วย 1) ชื่อ-นามสกุล 2) E-mail 3) หมาย
เลยโทรศัพท์ และ 4) ประเภทการติดต่อ
6.2 ตอนที่ 2 ประเด็นการประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
41