Page 39 - 1
P. 39
1 การจัดการอาชีวศึกษา 33
นอกจากนี้ คณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจกำหนดหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อความรู้ หรือทักษะ
ในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ ซึ่งจัดขึ้นเป็นโครงการหรือสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้
ทั้งนี้ ในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษาได้จัดแบ่งกลุ่มสายวิชาชีพสำหรับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเป็น
ประเภทวิชา ได้แก่
• ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
• ประเภทวิชาพณิชยกรรม (ระดับ ปวช.) หรือประเภทวิชาบริหารธุรกิจ (ระดับ ปวส.)
• ประเภทวิชาศิลปกรรม
• ประเภทวิชาคหกรรม
• ประเภทวิชาเกษตรกรรม
• ประเภทวิชาประมง
• ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
• ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
• ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
• ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี
• ประเภทวิชาพาณิชยนาวี
้
ในแต่ละประเภทวิชา จะแบ่งเป็นสาขาวิชาและสาขางาน เพื่อใหผู้เรียนได้เลือกเรียนตาม
ความถนัดและความสนใจ เมื่อจบการศึกษาแล้วมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประยุกต์ใช้
และความรับผิดชอบเฉพาะทาง ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงตาม
ความต้องการของงานอาชีพ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางานที่เรยน
ี
สามารถนำไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้
• การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถผลิต
ผู้สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสถาน-
ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ แหล่งวิทยาการ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในด้านการ
พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการฝึกอาชีพและการฝึกประสบการณ์สมรรถนะ
วิชาชีพ ทั้งนี้ ในการบริหารการจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่เปิดสอน สถานศึกษาอาชีวศึกษาและสถาบัน
ควรดำเนินการ ดังนี้