Page 36 - 1
P. 36
30 1 การจัดการอาชีวศึกษา
มาตรฐานหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาชีวศึกษา
คุณวุฒิวิชาชีพ คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
(Vocational Qualification) (General Vocational Education Qualification)
เทียบโอนผลการเรียนรู้
มาตรฐานอาชีพ
(Occupational Standards/
Competency Standards/ มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
Performance Standards) สาขาวิชา
(General Vocational Education
Standards)
คุณภาพ
มาตรฐานการอาชีวศึกษา
การอาชีวศึกษา (Vocational Education Standards/
Institution Standards)
ภาพที่ 8 แสดงมาตรฐานหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อนำสู่คุณภาพ
• เป้าหมายของการจัดการอาชีวศึกษา
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 6 กล่าวว่าการจัดการอาชีวศึกษาและการ
ฝึกอบรมวิชาชีพ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ
ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยี ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม ความต้องการของตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดย
นำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศกษาใหมีความรู้ความสามารถ
ึ
้
ในทางปฏิบัติ และมีสมรรถนะที่สามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพโดย
อิสระได้ โดยได้กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ดังนี้
• รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษา
การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการ
อาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 สามารถจัดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบรวมกัน ดังนี้
1. การศึกษาในระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาหรือ
สถาบันการอาชีวศึกษาเป็นหลัก โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลา การวัด
และการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน