Page 37 - 1
P. 37
1 การจัดการอาชีวศึกษา 31
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด
จุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ
การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่าง
สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐในเรื่อง
การจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล ผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาหรือ
สถาบันการอาชีวศึกษา และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้ ในการจัดการอาชีวศึกษาได้กำหนดให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาและสถาบันมุ่งเน้นการจัด
การศึกษาระบบทวิภาคีเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตรงความต้องการของ
สถานประกอบการ
• แนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา
การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้บรรลุวัตถุประสงค์ พระราชบัญญัติ
้
การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 10 กำหนดใหคำนึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. การมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยมีการกระจายอำนาจ
จากส่วนกลางไปสู่สถานศึกษาอาชีวศึกษาและสถาบัน
2. การศึกษาในด้านวิชาชีพสำหรับประชาชนวัยเรียนและวัยทำงานตามความถนัดและความ
สนใจอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญาตรี
3. การมีส่วนร่วมชุมชน สังคมและสถานประกอบการในการกำหนดนโยบายการผลิตและ
พัฒนากำลังคน รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานการอาชีวศึกษา
4. การศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และมีระบบเทียบโอนผลการเรียนและระบบ
เทียบประสบการณ์การทำงานของบุคคลเพื่อเข้ารับการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5. การมีระบบจูงใจให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาและ
การฝึกอบรมวิชาชีพ
6. การระดมทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม
วิชาชีพ โดยคำนึงถึงการประสานประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
7. การมีระบบการพัฒนาครูและคณาจารย์ของการอาชีวศึกษาอย่างต่อเอง เพื่อให้ทันต่อ
ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี