Page 59 - 2
P. 59

2  การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ                                                51


                                          ิ
                      4. มาตรฐานการศึกษาวชาชีพ

                        หลังจากกำหนดจุดประสงค์สาขาวิชาซึ่งเป็นการกำหนดถึงคุณลักษณะและสมรรถนะ
             วิชาชีพที่ต้องการอย่างกว้าง ๆ แล้ว ขั้นต่อมาจะเป็นการกำหนดมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชา

             และสาขางานซึ่งเป็นการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึง
             ประสงค์ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ จำแนก
             ตามสมรรถนะแกนกลางและสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาและ

             มาตรฐานอาชีพตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งเป็นการระบุคุณลักษณะและสมรรถนะที่ต้องการที่ละเอียด
             และชัดเจนมากขึ้นทั้งสมรรถนะบังคับและสมรรถนะเลือก เพื่อนำไปสู่การกำหนดรายวิชาในหมวดวิชา

             กลุ่มและกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและความ
             ต้องการของสถานประกอบการ และจะต้องมีการวิเคราะห์ทวนสอบด้วยว่ารายวิชาที่พัฒนาขึ้นนั้น

             สามารถทำให้เกิดมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพจริงหรือไม่ รายการใดบ้าง เป็นสมรรถนะบังคับหรือ
             สมรรถนะเลือก และสมรรถนะเหล่านั้นตรงกับระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษาและคุณวุฒิวิชาชีพหรือไม่

             กล่าวคือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบเคียงกับคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 2-3 และระดับประกาศนียบัตร
             วิชาชีพชั้นสูงเทียบเคียงกับคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4-5

                        มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพนี้ยังใช้เป็นกรอบในการกำหนดเกณฑ์และเครื่องมือประเมิน

             มาตรฐานฐานวิชาชีพ เพื่อการรับรองคุณภาพมาตรฐานของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
             สาขาวิชาและสาขางานด้วย การเขียนมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพแต่ละสาขาวิชาและสาขางานจึงต้องเขียน

             ให้ชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้จริง ประกอบด้วย

                        4.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์


                                       ึ
                            มาตรฐานการศกษาวิชาชีพด้านนี้ จะกำหนดไว้เหมือนกันทุกระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา
             และจะไม่มีรายวิชาที่กำหนดให้เรียนรู้และปฏิบัติโดยตรง แต่ให้ครูผู้สอนนำไปบูรณาการสอดแทรกควบคู่
             กับกระบวนการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา โดยให้กำหนดสัดส่วนการประเมินด้านจิตพิสัยไว้ร้อย

             ละยี่สิบในทุกรายวิชา รวมทั้งการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมของสถานศึกษา และหรือกิจกรรม
             ของสถานประกอบการสำหรับผู้เรียนทวิภาคี ประกอบด้วย

                            4.1.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วยรายการคุณธรรม จริยธรรมที่ผู้เรยนและ
                                                                                       ี
             ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาทุกระดับ ทุกสาขาวิชา พึงมีเพื่อความเป็นพลเมืองและพลโลกที่ดี
                            4.1.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ประกอบด้วยรายการพฤติกรรมลักษณะนิสัย

             ของผู้เรียนและผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาทุกระดับ ทุกสาขาวิชา ที่ต้องพัฒนาให้เกิดเป็นกิจนิสัยที่ดีในการ
             ดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64