Page 60 - 2
P. 60
52 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
4.2 ด้านสมรรถนะแกนกลาง
สมรรถนะแกนกลาง ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประยุกต์ใช้และ
ความรับผิดชอบ ในด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านการคิดและการแก้ปัญหา และด้านสังคมและการ
ดำรงชีวิต ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และปฏิบัติรายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง เพื่อนำไปใช้และหรือ
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรายวิชาชีพและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ดังที่
กล่าวไว้ในหน้า 24 คือ
4.2.1 ด้านภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ รายวิชาในกลุ่มวิชาภาษาไทย และกลุ่มวิชา
ภาษาต่างประเทศ
4.2.2 ด้านการคิดและการแก้ปัญหา ได้แก่ รายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และกลุ่ม
วิชาคณิตศาสตร์
4.2.3 ด้านสังคมและการดำรงชีวิต ได้แก่ รายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา (หลักสูตร
ึ
ปวช.)/กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตร ปวส.) และกลุ่มวิชาสุขศกษาและพลศึกษา (หลักสูตร ปวช.)/กลุ่ม
วิชามนุษยศาสตร์ (หลักสูตร ปวส.)
4.3 ด้านสมรรถนะวิชาชีพ
ดังที่กล่าวไว้แล้วในหน้า 24-25 ว่าสมรรถนะวิชาชีพเป็นมาตรฐานที่ต้องการให้เกิด
ขึ้นกับผู้เรียนในสาขาวิชาและสาขางาน โดยแปลงมาจากมาตรฐานอาชีพตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ได้แก ่
ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ ประกอบด้วย
สมรรถนะวิชาชีพบังคับที่ผู้เรียนในสาขาวิชานั้นต้องเรียนเพื่อสะท้อนความเป็นสาขาวิชาที่ ก.พ. รับรอง
คุณวุฒิ และสมรรถนะวิชาชีพเลือกซึ่งผู้เรียนในสาขาวิชานั้นสามารถเลือกเรียนในสาขางานที่สนใจเพื่อ
เป็นสมรรถนะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาทุกคนจะต้องผ่าน
เกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพของสาขาวิชา
และสาขางานที่กำหนดไว้ด้วย
4.3.1 สมรรถนะวิชาชีพบังคับ จะนำไปสู่การกำหนดรายวิชาชีพในหมวดวิชาสมรรถนะ
วิชาชีพ กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ
และกลุ่มโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนทุกรายวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้าง
หลักสูตร โดยในบางสาขาวิชาอาจมีการกำหนดลำดับรายวิชาด้วยว่าจะต้องเรียนรายวิชาใดก่อน-หลัง
4.3.2 สมรรถนะวิชาชีพเลือก จะนำไปสู่การกำหนดกลุ่มรายวิชาในสาขางาน ซึ่งเปิด
โอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียน หลังจากมีความรู้และทักษะที่จำเป็นจากการเรียนรายวิชาชีพพื้นฐานและ
รายวิชาชีพเฉพาะที่กำหนดแล้ว