Page 9 - 2
P. 9
2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 1
กำรพัฒนำหลักสูตรฐำนสมรรถนะ
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกียวกับการจดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ั
ี
่
ี
แนวคิด
การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการพัฒนาคนใหมีคุณภาพ ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนา
้
ประเทศให้มีความมั่นคงและเจริญก้าวหน้า พร้อมที่จะแข่งขันกับนานาประเทศได้ ปัจจุบันความ
เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ แต่ที่ผ่านมาการพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดการนำ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีค่านิยมในการศึกษาด้านอาชีวศึกษาน้อย
ส่งผลกระทบต่อความต้องการกำลังคนและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ
ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนา
ที่ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” รวมทั้งยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลด
ความเหลื่อมล้ำ และขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิ-
ปัญญาและนวัตกรรม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และภาค
การศึกษาในทุกพื้นที่ของประเทศ” เป็นกลไกประชารัฐที่รวมพลังให้สามารถกำหนดเป้าหมาย
แนวทางการพัฒนา รวมทั้งแผนงานโครงการสำคัญที่ตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาให้กับ
ประชาชนได้อย่างสอดคล้องกับภูมิสังคมและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง
ในการดำเนินการดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวนโยบายในการจัดการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” ซึ่งเน้นการ
ปฏิรูปการศึกษาทั้งด้านการบริหารและการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตามความถนัด ตามความสนใจ และได้รับการบริการด้านการศึกษาจากรัฐอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และ
การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ให้มีการจัดการเรียน
การสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งให้มีการปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา