Page 93 - 2
P. 93
2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 85
3. การกำหนดรายละเอียดของรายวิชา
การกำหนดรายละเอียดของรายวิชาเป็นการแปลงความรู้ ทักษะ ความสามารถในการ
ประยุกต์ใช้ และพฤติกรรมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ ซึ่งได้มีการทวนสอบ
กับมาตรฐานอาชีพและวิพากษ์กับเจ้าของอาชีพแล้ว นำมากำหนดเป็นจุดประสงค์รายวิชาเพื่อการพัฒนา
ผู้เรียนทั้งด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัย กำหนดสมรรถนะรายวิชาเพื่อนำไปสู่การวัดประเมินผล
รวมทั้งกำหนดคำอธิบายรายวิชาเพื่อนำไปสู่การแบ่งเนื้อหาสาระ วางแผนการจัดการเรียนรู้ภาคทฤษฎี
และหรือภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
เนื่องจากการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในแต่ละระดับคุณวุฒิมีระดับความรู้ ทักษะและ
ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทั้งด้านสมรรถนะแกนกลางและสมรรถนะวิชาชีพมีความง่าย-ยาก
ซับซ้อนต่างกัน การกำหนดรายวิชาและรายละเอียดของรายวิชาจึงต้องพิจารณาความง่าย-ยาก ซับซ้อน
ตามระดับของหลักสูตรให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่ซ้ำซ้อนกันด้วย นอกจากนี้ ในหลักสูตรระดับ
เดียวกัน ประเภทวิชาและสาขาวิชาเดียวกันก็ต้องพิจารณาด้วยว่าแต่ละรายวิชาควรมีเนื้อหาอะไร
ต้องการให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นอย่างไร รายวิชานั้นต้องการให้ศึกษาเรียนรู้เฉพาะภาคทฤษฎี
หรือภาคปฏิบัติ หรือทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ต้องใช้เวลาในแต่ละส่วนเท่าไร รายวิชาใดควร
กำหนดให้เรียนก่อน-หลัง รายวิชาใดควรกำหนดให้เป็นวิชาเรียนร่วมในระดับหลักสูตร เรียนร่วมในระดับ
ประเภทวิชาและหรือเรียนร่วมในระดับสาขาวิชา รายวิชาใดควรเป็นรายวิชาบังคับ รายวิชาใดสามารถ
เลือกเรียนได้ รายวิชาใดจะต้องเรียนผ่านรายวิชาที่กำหนดก่อนจึงสามารถเรียนต่อไปได้ เป็นต้น
การเขียนรายละเอียดของรายวิชาแต่ละรายวิชา ก็จะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของส่วน
ต่าง ๆ ตั้งแต่ชื่อวิชา จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชาและเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้
ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป