Page 48 - 8
P. 48
42 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี
ตัวอย่าง การจัดการเรียนและการฝึกอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ปีการศึกษา/ภาคเรียน จันทร ์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร ์
ปวส. 1 ภาคเรียนที่ 1 เรียน เรียน เรียน เรียน ฝึกอาชีพ
ปวส. 1 ภาคเรียนที่ 2 เรียน เรียน เรียน ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ
ปวส. 2 ภาคเรียนที่ 1 เรียน เรียน ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ
ปวส. 2 ภาคเรียนที่ 2 เรียน ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ
แผนภาพที่ 8 แสดงตัวอย่างการจัดการเรียนและการฝึกอาชีพ ระดับ ปวส. ในหนึ่งสัปดาห์ตลอดภาคเรียน
การกำหนดรูปแบบการเรียนและฝึกอาชีพรูปแบบที่ 1 นี้ เหมาะกับสถานประกอบการที่อยู่
ใกล้กับสถานศึกษา ซึ่งมีข้อดีตรงที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนในสถานศึกษาสู่การ
ปฏิบัติตามสภาพจริงในสถานประกอบการ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสามารถนิเทศ ติดตามประเมินผลและ
ให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง
รูปแบบที่ 2 จัดให้ฝึกอาชีพในสถานประกอบการเป็นภาคเรียน และจัดใหเรียนใน
้
สถานศึกษาเป็นภาคเรียน ตามโครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต รูปแบบและระยะเวลาที่กำหนดตาม
เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับและแต่ละสาขาวิชา โดยกำหนดระยะเวลาของการฝึก
อาชีพในสถานประกอบการของแต่ละหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2 ภาคเรียน หรือ 1 ปีการศึกษา ตาม
มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
การกำหนดภาคเรียนการฝึกอาชีพ ควรพิจารณาจากความพร้อมและความต้องการของ
สถานประกอบการที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกัน รวมทั้งข้อดี-ข้อจำกัดของการจัดการเรียนและฝึก
อาชีพแต่ละรูปแบบ ซึ่งโดยทั่วไป โดยเฉพาะในระดับ ปวช. ที่ผู้เรียนยังไม่มีทักษะในด้านวิชาชีพ ควรจัด
้
ให้เรียนและฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐาน รวมทั้งฝึกพฤติกรรมและกิจนิสัยที่พึงประสงค์ใหผู้เรียนมีความพร้อม
ในภาคเรียนที่ 1-2 หรือปีการศึกษาที่ 1 ก่อน ทั้งนี้ การจัดแผนการเรียนและการฝึกอาชีพเป็นภาคเรียนนี้
สามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ ดังตัวอย่าง