Page 14 - สารบัญ
P. 14

แผนปฏิบัติราชการ ประจ าปีงบประมาณ พ .ศ . 2564    หน้า  -5-

                           - เปิดกว้าง เสรีทางการศึกษาให้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาร่วม
               ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human  Capital  Excellence

               Center : HCEC)  จากแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Education Excellence Platform : DEEP)  ให้ครอบคลุมผู้เรียน
               ทั่วประเทศ
                     ทั้งนี้ เพื่อน าไปสู่นักเรียนยกก าลังสอง ที่เน้นเรียนเพื่อรู้ พัฒนาทักษะเพื่อท า ครูยกก าลังสองที่เน้นเพิ่มคนเก่ง

               มาเป็นครู พัฒนาครูในระบบ ห้องเรียนยกก าลังสองที่เน้นเรียนที่บ้าน ถามที่โรงเรียน หลักสูตรยกก าลังสองที่เน้นลดเวลา
               เรียน เพิ่มเวลารู้  สื่อการเรียนรู้ยกก าลังสองที่เน้นเรียนผ่านสื่อผสมผสาน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่ On-Site

               เรียนที่โรงเรียน Online  เรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital  Education
               Excellence Platform : DEEP) ที่มีเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน On-Air เรียนผ่านโทรทัศน์ DLTV มูลนิธิ

               การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน และ On-Demand ซึ่งสามารถเรียนได้
               ทุกที่ทุกเวลา ที่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ โรงเรียนยกก าลังสองที่มุ่งเน้นคุณภาพในโรงเรียนระดับการศึกษา

               ขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อความเป็นเลิศทางภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนที่เน้นคุณภาพของ
               วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญที่สามารถตอบโจทย์ทักษะและความรู้ที่เพิ่มความเชี่ยวชาญ

               ในการปฏิบัติงาน
                     จุดเน้นประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

                     1. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
                           1.1 การจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ
                                - จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการจัดการ

               เรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
                                - ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา ตามความต้องการจ าเป็น

               ของกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลายตามบริบทของพื้นที่
                                - พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่าง

               มีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active  Learning)  จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จ าลองผ่านการ
               ลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครู

               ให้มากขึ้น
                                - พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการด ารงชีวิตและสร้างอาชีพ
               อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ

                           1.2 การเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                - จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตส าหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ
               (English for All)
                                - ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมส าหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่เหมาะสมรองรับ

               สังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหลักสูตรการดูแลผู้สูงวัย หลักสูตร BUDDY  โดยเน้นการมีส่วนร่วมใน
               การพัฒนาชุมชน โรงเรียน และผู้เรียน หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าออนไลน์ระดับต าบล

                                - ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานท า ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
               จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บ ชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล

               ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าว)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19