Page 13 - สารบัญ
P. 13

แผนปฏิบัติราชการ ประจ าปีงบประมาณ พ .ศ . 2564    หน้า  -4-

               พัฒนาปรับปรุงทักษะอาชีพของทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
               ที่ อาจจะเปลี่ยนไปตามแนวโน้มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต

                           6.5 ส่งเสริมหลักคิดที่ถูกต้อง โดยสอดแทรกการปลูกฝังวินัยและอุดมการณ์ที่ถูกต้องของคนในชาติ หลักคิด
               ที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม การมีจิตสาธารณะการเคารพกฎหมาย และกติกาของสังคมเข้าไปในทุกสาระวิชาและใน
               ทุกกิจกรรม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมกลไกสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในทุกมิติอย่างเป็นระบบและ

               มีประสิทธิภาพ ปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการมีคุณธรรมจริยธรรมและ
               จิตสาธารณะ รวมทั้งลงโทษผู้ละเมิดบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

               ขับเคลื่อนประเทศ
                     7. จัดท าระบบปริญญาชุมชนและการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น เน้นออกแบบหลักสูตรระยะสั้น ตามความสนใจ

               พัฒนาทักษะต่างๆ ที่ใช้ในการด ารงชีวิตประจ าวันและทักษะอาชีพของคนทุกช่วงวัยในพื้นที่และชุมชนเป็นหลัก พร้อมทั้ง
               ศึกษาแนวทางการพัฒนาเป็นรูปแบบธนาคารหน่วยกิต ซึ่งเป็นการเรียนเก็บหน่วยกิตของวิชาเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

               เรียนข้ามสาขาวิชาและข้ามสถาบันการศึกษาหรือท างานพร้อมกัน หรือเลือกเรียนเฉพาะหลักสูตรที่สนใจ เพื่อสร้างโอกาส
               ของคนไทยทุกช่วงวัยและทุกระดับสามารถพัฒนาตนเองทั้งในด้านการศึกษาและการด ารงชีวิต



                     กระทรวงศึกษาธิการจึงก าหนดนโยบายประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้
                     1. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและบุคลากร เช่น

               ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ ที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรทับซ้อน
               เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการน าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทั้งการบริหารงานและการจัดการศึกษา

               รองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล
                     2. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผนงาน/โครงการแบบ
               ร่วมมือและบูรณาการ ที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งกระบวนการจัดท างบประมาณ

               ที่มีประสิทธิภาพและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และนานาชาติ เชื่อมั่นและร่วม

               สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น
                     3. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนาก าลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งบริหาร
               จัดการอัตราก าลังให้สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากร

               ภาครัฐ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล
                     4. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษา

               เพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
                     5. ด าเนินการปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ที่เป็นเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย “การศึกษายก

               ก าลังสอง (Thailand Education Eco – System : TE2S) การศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand” โดย
                           - ปลดล็อก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ

               ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้สามารถด าเนินการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการบริหาร
               การศึกษาของประเทศให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
                           - ปรับเปลี่ยน หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพให้ทันต่อการ

               เปลี่ยนแปลงของโลก ปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความ
               เป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เพื่อให้ครู Up Skill และ Re-Skill ของตนเองได้ตลอดเวลา

               ทั้งนี้ เพื่อส่งต่อความรู้ไปยังผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนที่มีคุณภาพ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18