Page 12 - แผนปฏิบัติราชการ 65
P. 12
แผนปฏิบัติราชการ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หน้า -2-
2. นโยบำยรัฐบำล ที่เกี่ยวข้องกับกำรศึกษำ
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
1. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.1 จัดให้มีระบบพัฒนาเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องจนถึงเด็กวัยเรียนให้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
เพื่อสร้างคนไทยที่มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพผ่านครอบครัวที่อบอุ่นในทุกรูปแบบครอบครัว เพื่อส่งต่อการพัฒนา
เด็กไทยให้มีคุณภาพสู่การพัฒนาในระยะถัดไปบนฐานการให้ความช่วยเหลือที่ค านึงถึงศักยภาพของครอบครัวและพื้นที่
เตรียมความพร้อมการเป็นพ่อแม่ ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพ การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ผ่านการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ การยกระดับคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน
และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทางการศึกษาและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
1.2 ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยค านึงถึงพหุปัญญาที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน ให้ได้รับการ
ส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ผ่านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติที่เป็น
ระบบและมีทิศทางที่ชัดเจน
2. พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่
2.1 ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุกช่วงวัยส าหรับศตวรรษที่ ๒๑
โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย มีการน าเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วน
ในการจัดการเรียนการสอน และปรับระบบดึงดูด การคัดเลือก การผลิตและพัฒนาครู ที่น าไปสู่การมีครูสมรรถนะสูงเป็น
ครูยุคใหม่ที่สามารถออกแบบและจัดระบบการสร้างความรู้ สร้างวินัย กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์
มุมมองของเด็กและครูด้วยการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้นควบคู่กับหลักการทางวิชาการ
2.2 จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการท างานเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนทั้งในส่วนฐานความรู้และ
ระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ และตรงกับความต้องการของประเทศในอนาคต และเป็นผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติ
ได้จริงและสามารถก ากับการเรียนรู้ของตนเองได้ รวมถึงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามที่สามารถสื่อสารและ
แสวงหาความรู้ได้ มีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
3. พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยการจัดระบบและกลไก
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ชัดเจนเป็นระบบในการพัฒนาก าลังคนที่มีทักษะขั้นสูงให้สามารถ
น าความรู้และทักษะมาใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งต้องครอบคลุมการพัฒนาก าลังคน
ที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว ก าลังคนที่ก าลังจะเข้าสู่อุตสาหกรรม และเตรียมการส าหรับผลิตก าลังคนในสาขาที่ขาดแคลน
เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต รวมทั้งเร่งรัดและขยายผลระบบคุณวุฒิวิชาชีพ การยกระดับฝีมือ
แรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
4. ดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกเข้ามาร่วมท างานกับคนไทย และส่งเสริมผู้มีความสามารถสูง สนับสนุนให้ธุรกิจชั้นน า
ในประเทศดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถระดับสูงจากทั่วโลกโดยเฉพาะคนไทย เพื่อกลับมาเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลงและ
ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความเชี่ยวชาญให้แก่บุคลากรในองค์กร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์
และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ โดยในระยะแรกให้ความส าคัญกับการดึงดูดนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
มาร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายรวมทั้งมีพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ
ที่มีศักยภาพสูงได้ท างานร่วมกัน หรือร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศ
5. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ
5.1 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ าและความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคมและนวัตกรรมในเชิงพื้นที่ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ า