Page 22 - 1
P. 22

16                                                              1 การจัดการอาชีวศึกษา


                      2. ให้ความสำคัญกับครูและผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยมุ่งเพิ่มพูน

             ขีดความสามารถของครูในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมี
             ประสิทธิภาพ
                      3. ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ

             โดยเน้นความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี และการฝึกงาน
                      4. เตรียมความพร้อมกำลังคนรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในส่วนของการ

             ตั้งรับและเชิงรุก ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถทางภาษาและสมรรถนะกำลังคนอาชีวศึกษาให้มี
             มาตรฐานในระดับสากล


                      ในการดำเนินการดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์ ได้มีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของ
             การพัฒนา ประกอบด้วย 4 นโยบาย  10 ยุทธศาสตร์ และ 28 กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

                      นโยบายที่ 1 : มุ่งสร้าง/ผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา ให้ตอบสนองความต้องการของ
             ตลาดแรงงาน


                      เป้าหมาย : ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภายใต้บริบทความร่วมมือกับสถาน-
             ประกอบการให้ได้ตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองและฝึกอบรมวิชาชีพกำลังคน

             อาชีวศึกษาที่อยู่นอกระบบให้เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ

                      ยุทธศาสตร์ที่ 1  มุ่งพัฒนาคุณภาพและปริมาณผู้เรียนให้สัมพันธ์กับความต้องการของ

             ตลาดแรงงานในประเทศและระดับสากล มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่
                      กลยุทธ์ที่ 1  ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของ

             ตลาดแรงงานและสังคมทั้งในประเทศ ภูมิภาค อาเซียนและระดับสากล
                      กลยุทธ์ที่ 2  ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพด้วยรูปแบบ
             ที่หลากหลายทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาระบบทวิภาคี

                      กลยุทธ์ที่ 3  ส่งเสริม สนับสนุนและเร่งรัดการจัดอาชีวศึกษาด้านความร่วมมือผลิตและพัฒนา
             กำลังคนร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยเฉพาะการศึกษาระบบทวิภาคี และการ

             ฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน
                      กลยุทธ์ที่ 4  ปรับภาพลักษณ์ ทัศนคติและสร้างการยอมรับของสังคมที่มีต่อการเรียน

             สายอาชีพด้วยกระบวนการเชิงคุณภาพให้กับนักเรียน กลุ่มผู้ปกครองและชุมชน

                      ยุทธศาสตร์ที่ 2  การเพิ่มโอกาสการเรียนและการฝึกอบรมวิชาชีพอาชีวศึกษาให้กับกลุ่มผู้อยู่

             นอกระบบ มี 3 กลยุทธ์ ได้แก่
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27