Page 23 - 1
P. 23
1 การจัดการอาชีวศึกษา 17
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ผู้อยู่นอกระบบการศึกษา ให้สามารถสร้างงาน สร้าง
รายได้
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
ตลอดชีวิตให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการและผู้อยู่นอกระบบ
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนอบรมวิชาชีพเพื่อการพัฒนาต่อยอดอาชีพเดิมหรือสร้างอาชีพ
ใหม่สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ มี 2
กลยุทธ์ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรให้มี ผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นไปตามสมรรถนะของกรอบคุณวุฒิ
วิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบประเมินมาตรฐานวิชาชีพตรงตามคุณวุฒิวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างระบบการจูงใจให้เกิดการตัดสินใจเข้าศึกษาต่ออาชีวศึกษา มี 4
กลยุทธ์ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 ปรับระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่ออาชีวศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 จัดหาแหล่งเงินสนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้ที่สนใจและคนเก่งได้ศึกษาในระดับ
ปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
กลยุทธ์ที่ 3 สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพอิสระหลังจบการศึกษา สร้าง
ความมั่นคงในชีวิต
กลยุทธ์ที่ 4 มาตรการทางด้านภาษีอากรเพื่อการจูงใจให้สถานประกอบการให้ความร่วมมือ
ในการจัดการอาชีวศึกษา
นโยบายที่ 2 : พัฒนาปริมาณและคุณภาพของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการ
ศึกษาด้านอาชีวศึกษา
เป้าหมาย : 1) มีปริมาณครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาพอเพียง
ต่อการจัดการศึกษาระดับ ปวช. ระดับ ปวส. และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
และการฝึกอบรมวิชาชีพ และ 2) พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้มี
คุณภาพและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างเสริมปริมาณครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษา
มี 2 กลยุทธ์ ได้แก่