Page 24 - 1
P. 24
18 1 การจัดการอาชีวศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 การสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาด้านการอาชีวศึกษาจากภาครัฐ
กลยุทธ์ที่ 2 การสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาจากภาคเอกชนและชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและประสบการณ์เพื่อคุณภาพของครู คณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษา มี 2 กลยุทธ์ ได้แก ่
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการศึกษาต่อ การฝึกอบรมและการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรอาชีวศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างโอกาสและความร่วมมือในการสร้างเสริมคุณภาพครู คณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษา มี 2 กลยุทธ์ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างโอกาสและความร่วมมือกับภาครัฐ
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความร่วมมือกับภาคเอกชนและชุมชน
นโยบายที่ 3 : พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม ่
เป้าหมาย : สถานศึกษาของอาชีวศึกษามีมาตรฐานในด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับ
ปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยความ
ร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงาน สถานศึกษา สถานประกอบการทั้งภายในและต่างประเทศ
ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับมาตรฐานสถานศึกษาของอาชีวศึกษาในด้านการจัดการเรียน
สอนในระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ และเพิ่มศักยภาพให้เป็น
แหล่งเรียนรู้วิชาชีพและฝึกอบรมวิชาชีพของชุมชน มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างและเครือข่ายการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบการจัดการบริหาร
กลยุทธ์ที่ 3 ร่วมมือกับสถานประกอบการในการเปิดสอนระดับปวช. ปวส. และปริญญาตรี
สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
กลยุทธ์ที่ 4 เร่งรัดการจัดเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน
ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษา ภายใต้ความ
ร่วมมือกับสถานประกอบการและชุมชน