Page 19 - 2
P. 19

2  การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ                                                11


              ผลลัพธ์การเรียนรู้     ประกอบด้วย 3  ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้ ครอบคลุมในเรื่องความรู้เชิง วิชาการ

              (Learning outcomes)    แนวคิด ทฤษฎี ข้อเท็จจริงต่าง ๆ  2) ทักษะ ครอบคลุมทักษะด้านการคิด
                                     อย่างมีเหตุผล การหยั่งรู้ การคิดสร้างสรรค์และการปฏิบัติ  และ 3)
                                     ความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ โดยผลลัพธ์การเรียนรู้
                                     ทั้ง 3 ด้านนี้จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ ทั้งในด้านความซับซ้อน
                                     และความลึกของความรู้ความเข้าใจ ด้านวิชาการ และทักษะความสามารถ

                                     ที่ควรมีในแต่ละระดับการศึกษา
              กลไกการเชื่อมโยง        การเชื่อมโยงและเทียบเคียงเข้าสู่กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ทั้งในส่วนของผู้ที่

              เติมเต็ม/เทียบเคียง    สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษา และผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
              (Connecting, Filling-  อาชีพ ต้องมีกลไก/ระบบการเข้าสู่ระดับคุณวุฒิที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย
              up/Benchmarking        และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา เพื่อให้บุคคลที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาหรือมี

              Mechanism)             ทักษะ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ หรือสมรรถนะจากการ
                                     ปฏิบัติงานสามารถเทียบโอนหรือเติมเต็มอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต เพื่อให้
                                     ได้รับการรับรองและยกระดับคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ


                      ทั้งนี้ หากการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นไป
             ตามหลักการของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ผู้ได้รับคุณวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรก็จะมีสมรรถนะสอดคล้อง

             กับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่วนผู้ที่มีทักษะความสามารถตามมาตรฐาน อาชีพ หากต้องการ
             คุณวุฒิการศึกษาก็สามารถเทียบเคียงเพื่อรับการประเมินและเติมเต็มส่วนที่ขาดด้านการศึกษาได้อย่าง

             เป็นระบบ

                   •  ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามระดับคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิ


                      สำหรับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ทั้ง 3 ด้านในแต่ละระดับคุณวุฒิ สามารถ

             นำมาเป็นกรอบในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาให้มีเนื้อหาสาระและมาตรฐานการศึกษา
             วิชาชีพที่มีความเชื่อมโยง ไม่ซ้ำซ้อนกัน เป็นไปตามระดับความง่าย-ยาก จากระดับคุณวุฒิวิชาชีพระดับ

                                                                                           ี
             2-3 ซึ่งเทียบเคียงกับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4-5 ซึ่งเทียบเคยง
             กับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 6 ซึ่งเทียบเคียงกับระดับ

             ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพ
             ทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะหรือสมรรถนะ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ
             รวมทั้งคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพที่กำหนด

             ในแต่ละระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา สาขาวิชาและสาขางาน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24