Page 19 - 4
P. 19
4 การนำหลักสูตรไปใช้ 11
สาขางาน ....................
3.3.6 ตัดสินใจ วางแผนและแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรมในงานอาชีพ
............................ ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง
3.3.7 ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหา
และการปฏิบัติงาน ............................
3.3.8 บริหารจัดการ ประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพ ...............ด้วยตนเอง
3.3.9 …………………………………………………………………………………........................................................
ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแต่ละระดับคุณวุฒิ สาขาวิชาและสาขางาน สามารถเพิ่ม
สมรรถนะวิชาชีพที่งานอาชีพต้องการนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ได้
• โครงสร้างหลักสูตร
เป็นกรอบในการจัดการศึกษาของแต่ละระดับคุณวุฒิ ประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางาน
ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา และกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยในหมวดวิชาประกอบด้วยกลุ่มและกลุ่มวิชา
ซึ่งมีทั้งรายวิชาบังคับหรือต้องเรียน รายวิชาที่มีเงื่อนไขว่าต้องเลือกหรือต้องเรียนรายวิชาใดก่อน-หลัง
รายวิชาที่ให้เลือกเรียนได้เฉพาะในกลุ่มวิชาที่กำหนด รายวิชาที่สามารถเลือกเรียนได้โดยอิสระ
สถานศึกษาจึงต้องทำความความเข้าใจกรอบโครงสร้างหลักสูตร รายวิชาและรายละเอียดรายวิชา
จำนวนหน่วยกิตที่กำหนดในแต่ละหมวดวิชา จำนวนหน่วยกิตรวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่
จัดการศึกษาและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนจัดทำแผนการเรียน จัดตารางเรียน ตารางสอน ตาราง
การใช้ห้องเรียน-ห้องปฏิบัติการ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการประเมินผล รวมทั้งประสานงาน
หน่วยงานและสถานประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษา
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และเกณฑ์มาตรฐาน
คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต
ของแต่ละหมวดวิชา รวมทั้งจำนวนหน่วยกิตรวมขั้นต่ำของหลักสูตรแต่ละระดับไว้เพื่อเป็นกรอบแนวทาง
ในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เห็นชอบให้กรอบโครงสร้างหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 และโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช 2563 สำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละระดับ สาขาวิชาและสาขางาน เป็นดังนี้