Page 22 - 4
P. 22
14 4 การนำหลักสูตรไปใช้
• รหัสวิชา
รายวิชาแต่ละรายวิชาในหลักสูตรประกอบด้วย รหัสวิชา ชื่อวิชา ชั่วโมงเรียนภาคทฤษฎีต่อ
สัปดาห์ ชั่วโมงเรียนภาคปฏิบัติต่อสัปดาห์ และจำนวนหน่วยกิต สำหรับรหัสวิชานั้นจะใช้ในการจำแนก
ให้รู้ว่ารายวิชานั้นอยู่ในประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน หมวดวิชา กลุ่มและกลุ่มวิชาใด ตลอดจนเป็น
เป็นรายวิชาลำดับที่เท่าไรในแต่ละกลุ่มและกลุ่มวิชา ซึ่งสถานศึกษาและครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจ
และให้ความสำคัญกับเกณฑ์การกำหนดรหัสวิชาเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดแผนการเรียน การลงทะเบียน
เรียนและบันทึกผลการเรียนในเอกสารหลักฐานการศึกษาของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้หาก
สถานศึกษาประสงค์จะดำเนินการพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมในส่วนที่อนุญาตให้เพิ่มเติมได้จะ
กำหนดรหัสวิชาอย่างไร
รหัสวิชาในหลักสูตรอาชีวศึกษา ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 และ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ประกอบด้วยตัวเลข 9 ตัว โดยมีเครื่องหมาย
“-” คั่นระหว่างตัวเลขลำดับที่ 5 และลำดับที่ 6 แต่หากเป็นรายวิชาที่พัฒนาโดยสถานศึกษา จะใช้
เครื่องหมาย “*” แทน สำหรับความหมายของตัวเลขในรหัสวิชา เป็นดังนี้
ตัวเลขลำดับที่ ความหมาย
1 ระดับของหลักสูตร
2 = หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
3 = หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
2 และ 3 ประเภทวิชา
01 = ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
02 = ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
03 = ประเภทวิชาศิลปกรรม
04 = ประเภทวิชาคหกรรม
05 = ประเภทวิชาเกษตรกรรม
06 = ประเภทวิชาประมง
07 = ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
08 = ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
09 = ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
10 = ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี
11 = ประเภทวิชาพาณิชยนาวี