Page 15 - 4
P. 15

4 การนำหลักสูตรไปใช้                                                          7


                   •  มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ


                      เป็นผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังว่าผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชานั้น ๆ จะบรรลุและมีคุณภาพตาม
             เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ และสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพหรือความต้องการของ

             งานอาชีพ ประกอบด้วย
                      1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                      2. ด้านสมรรถนะแกนกลาง

                      3. ด้านสมรรถนะวิชาชีพ

                      ซึ่งนอกจากมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ จะเป็นกรอบในการพัฒนารายวิชาตามโครงสร้าง

             หลักสูตรแล้ว ยังใช้เป็นกรอบในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสาขาวิชาและสาขางาน ตั้งแต่การจัด
             แผนการเรียนที่เน้นสมรรถนะ การจัดทำมาตรฐานครุภัณฑ์ของสาขาวิชาและสาขางาน การจัดการเรียนรู้

             และวัดประเมินผลในแต่ละรายวิชา รวมทั้งการกำหนดกรอบ เกณฑ์และเครื่องมือประเมินมาตรฐาน
             วิชาชีพเพื่อการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนในสาขาวิชาและสาขางานด้วย ตัวอย่างเช่น

                              มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

             1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

                1.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ได้แก่ ความเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต ความ
              กตัญญูกตเวที ความอดกลั้น การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน การมีจิตสำนึกและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและ
              สังคม ภูมิใจและรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่น ประพฤติปฏิบัติตาม
              บทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสาธารณะ และ

              จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
                1.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความรักสามัคคี มีมนุษย-สัมพันธ์
              ความเชื่อมั่นในตนเอง สนใจใฝ่รู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขยัน ประหยัด อดทน พึ่งตนเองต่อต้านความ

              รุนแรงและการทุจริต ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความปลอดภัย
              อาชีวอนามัย การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

              2. ด้านสมรรถนะแกนกลาง
                2.1 ด้านความรู้ ได้แก่
                    2.1.1 หลักการใช้ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร

                    2.1.2 หลักการใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและการจัดการ
                    2.1.3 หลักการดำรงตนและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
                    2.1.4 หลักการปรับตัวและดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20