Page 12 - 7
P. 12

7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา                                                3



             จากการวัดความสามารถของผู้เรียนมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อตัดสินว่าผู้เรียน

             มีความสามารถแต่ละด้านทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับใด

                      ในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาหรือการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ การวัดและประเมินผล
             การเรียนรู้จะใช้สมรรถนะงานเป็นตัวกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ โดยวัดและประเมินผลการ

             เรียนรู้ 4 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ พฤติกรรมแต่ละบุคคล และความสามารถในการประยุกต์ใช้หรือ
             ประสบการณ์ในการทำงาน โดยวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านไปพร้อมกับการเรียนรู้ แล้วนำ

             ผลที่ได้จากการวัดไปเทียบกับมาตรฐานงานที่กำหนดไว้ ผู้ถูกวัดจะต้องมีความสามารถไม่ต่ำกว่าเกณฑ์
             มาตรฐานของสมรรถนะงานในแต่ละสมรรถนะงาน และต้องผ่านตามเกณฑ์ของทุกสมรรถนะงาน

             ที่กำหนดไว้ในแต่ละสาขาวิชาหรือสาขางานของแต่ละกลุ่มอาชีพที่กำหนดไว้

                      ในการจัดการเรียนการสอนและวัดประเมินผลด้านอาชีวศึกษา ครูผู้สอนจะต้องศึกษาและ

             ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผล การประเมินผล การประเมินผลตามสภาพจริง การกำหนดกรอบการวัด
             ประเมินผล การเลือก สร้างและใช้เครื่องมือวัดผล รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์การใหคะแนนเพื่อการตัดสิน
                                                                            ้
             ผลการประเมิน


                   •  การวัดผล (Measurement)


                      “การวดผล” หมายถึง กระบวนการที่นำตัวเลขมาใช้แทนปริมาณความสามารถของคุณลักษณะ
                           ั
             ของผู้เรียนจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการวัดความสามารถของผู้เรียน

                                        ี
             และเทียบความแตกต่างระหว่างผู้เรยนแต่ละคนได้  โดยการวัดผลการศึกษาจะประกอบไปด้วย 3 ด้าน
             คือ

                      1. ด้านความรู้
                      2. ด้านทักษะ

                      3. ด้านจิตพิสัย

                      1. ด้านความรู้  เครื่องมือที่ใช้ส่วนมากเป็นแบบทดสอบ เช่น แบบทดสอบแบบเลือกตอบ

             แบบจับคู่ แบบเติมคำในช่องว่างและแบบความเรียง  ซึ่งโดยทั่วไปจะนิยมใช้แบบเลือกตอบและแบบ
             ความเรียง ทั้ง 2 แบบนี้จะต้องแยกความสามารถของผู้ตอบได้ตามระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

             ในหลักสูตรรายวิชา ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรก่อน แล้วนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์หลักสูตร
             มากำหนดเป็นตารางวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อกำหนดว่าจะวัดความสามารถของผู้เรียนถึงระดับใดบ้าง และ

             จำนวนข้อสอบที่จะวัดตามระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ในแต่ระดับจะมีระดับละกี่ข้อ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17