Page 16 - 7
P. 16

7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา                                                7



                   •  ประโยชนและความสําคัญของการประเมินตามสภาพจริง


                      การประเมินตามสภาพจริงมีประโยชน์และความสำคัญทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้

                      1. ด้านผูเรียน การประเมินตามสภาพจริงชวยพัฒนาการเรียนรูอยางรอบดานของผู้เรียน
             เนื่องจากการประเมินแบบเดิมที่นิยมใช คือ แบบทดสอบ ไมสามารถวัดลักษณะสําคัญของการเรียนรู

             ทําใหจุดประสงคการสอนบางประการที่สําคัญไมประสบผลสําเร็จ โดยเฉพาะจุดประสงค์ดานจิตพิสัย
             และทักษะพิสัย การประเมินตามสภาพจริงจึงเปนทางเลือกใหม เปนวิธีการที่จะทําใหครูใกลชิดและ

                                                                               ี
             รอบคอบในการประเมินผูเรียนมากยิ่งขึ้น โดยพิจารณาที่การเรียนรูและชิ้นงานที่ผูเรยนสร้างสรรค์เป็น
                                                                                           ้
             สําคัญ วิธีการประเมินที่หลากหลายจะทําใหผูเรียนถูกสอนใหคิดและหาเหตุผลที่จะตอบคําถามใหได
             และขณะเดียวกันผูสอนก็จะรับฟงและเขาใจความคิดของผูเรียนดวย

                      2. ด้านผูสอน ผลการประเมินตามสภาพจริงนอกจากจะสะท้อนความสามารถของผู้เรียน
             ตามจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ว ยังสะท้อนถึงความสำเร็จหรือข้อบกพร่องของเทคนิควิธีการจัดการเรียน

             การสอนของครูผู้สอนด้วย ดังนั้นครูสามารถนำข้อมูลมาปรับแผนการจัดการเรียนรู้ ปรับกลยุทธการสอน
             เพื่อตอบสนองความตองการที่แทจริงของผูเรียนได้


                   •  วิธีการประเมินตามสภาพจริง


                      การประเมินตามสภาพจริงควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปจนเข้าใจ โดยมีการวางแผนการ
                                                                   ้
             ประเมินเพื่อศึกษาผลสะท้อนกลับ และภาพรวมของการประเมินว่าเขาถึงเป้าหมายของจุดประสงค์ของ
             การประเมินอย่างชัดเจนหรือไม่ โดยจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
                      1. จุดประสงค์ของการประเมินที่กำหนด
                      2. ขอบเขตที่ต้องการประเมิน

                      3. ยุทธวิธีหรือเทคนิคที่ใช้ประเมิน
                      4. การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลตามเกณฑ์ที่กำหนด

                      5. การจัดทำบันทึกและรายงาน

                   •  การวางแผนการประเมินตามสภาพจริง


                      ในการวางแผนการประเมินตามสภาพจริง ควรพิจารณาองค์ประกอบ ดังนี้

                      1. จุดประสงค์และเป้าหมายการประเมิน เพื่อ

                        1.1 ประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21