Page 13 - 7
P. 13

4                                                      7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา


                      2. ด้านทักษะ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินเพื่อวัดความสามารถของผู้เรียนในการ

             ปฏิบัติงาน การดำเนินงานและการพัฒนางาน รวมทั้งวัดผลผลิตที่ได้จากการปฏิบัติงานด้วย เช่น ชิ้นงาน
             รายงาน และหรือผลสำเร็จจากภาระงานที่ได้รับมอบหมาย แบบประเมินที่นิยมใช้มี 2 แบบ คือแบบ
             มาตราส่วนประมาณค่าและแบบตรวจสอบรายการ

                                                                                   ้
                        2.1 แบบมาตราส่วนประมาณค่า  ในการวัดทักษะต้องกำหนดเกณฑ์การใหคะแนนของ
             แต่ละส่วนของการวัด แต่ถ้าใช้วัดความพึงพอใจ (แบบสอบถาม) ไม่ต้องกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน

                        2.2 แบบตรวจสอบรายการ ในการวัดทักษะจะตรวจสอบว่าทำได้หรือทำไม่ได้ จำนวนข้อ
             ที่ใช้วัดจะต้องมีจำนวนมากเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องการวัด

                      3. ด้านจิตพิสัย เครื่องมือที่ใช้ส่วนมากจะเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน หรือแบบ
             สัมภาษณ์  ตัวเครื่องมือจะมีลักษณะเหมือนแบบตรวจสอบรายการหรือเป็นแบบบันทึก


                   •  การประเมินผล (Evaluation)


                      “การประเมินผล” หมายถึง กระบวนการที่นำค่าที่ได้จากการวัดมาวินิจฉัยเพื่อตัดสินหรือ
             สรุปผลจากตัวเลขที่ได้จากการวัดว่าอยู่ในระดับใดของเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานกำหนด ใช้ในการ

             ตัดสินผู้เรียนว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าผ่านจะอยู่ในระดับใดของเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การประเมินผลสัมฤทธิ์
             ทางการเรียน

                      การประเมินผลจึงเป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนตาม
                                                                                 ้
                                                  ิ
             มาตรฐานที่กำหนด หรือเป็นการประเมินแบบองเกณฑ์ ผู้เรียนแต่ละคนต้องปฏิบัติใหได้ตามเกณฑ์ที่
             กำหนด ซึ่งส่วนมากจะกำหนดเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ ผู้เรียนคนใดไม่ผ่านเกณฑ์ก็ต้องไปพัฒนาตนเองและมา
             รับการทดสอบใหม่จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ เช่น การประเมินตามสภาพจริง และการประเมินตามสมรรถนะ

                                 ตารางเปรียบเทียบการวัดผลและการประเมินผล

                             การวัดผล                              การประเมินผล

              1. เป็นการกำหนดรายละเอียดจำนวนหรือปริมาณ   1. เป็นการกำหนดระดับคุณค่า ตัดสินลงข้อสรุป
              2. เป็นการกระทำอย่างละเอียดทีละด้าน     2. เป็นการสรุปรวม เป็นข้อชี้ขาด/ผลการตัดสิน

              3. ใช้เครื่องมือเป็นหลัก                3. ใช้ผลจากการวัดเป็นหลัก โดยพิจารณาตาม
                                                          เกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้า
              4. ผลที่ได้เป็นข้อมูลรายละเอียด         4. ผลที่ได้เป็นการตัดสินใจ
              5. อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์           5. ใช้ดุลพินิจในการตัดสิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18