Page 14 - 7
P. 14
7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินตามสภาพจริง
“การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)” หมายถึง การประเมินความ
สามารถตามสภาพความเป็นจริงของผู้เรียน โดยที่ผู้ประเมินจะหาวิธีการหรือเทคนิคในการประเมินให ้
เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นจะมีการพัฒนาหรือการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม
ที่มีอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่ผู้เรียนทำแบบทดสอบไม่ผ่าน ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนไม่มีความรู้
ในรายวิชาที่ทำแบบทดสอบหรือไม่มีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ผู้เรียนอาจจะรู้ในสิ่งที่แบบทดสอบไม่ได้ถามก็ได้
การวัดและประเมินผลการอาชีวศึกษา เน้นการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตาม
สภาพความเป็นจริงของผู้เรียน โดยดำเนินการประเมินอย่างต่อเนื่องด้วยเทคนิควิธีการและเครื่องมือ
ประเมินที่หลากหลายตามลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการการเรียนรู้รอบด้านของผู้เรียน
ทั้งด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรมลักษณะนิสัย ทั้งนี้ ในภาคทฤษฎีหรือด้านความรู้จะเน้นการ
ประยุกต์ใช้ การวิเคราะห สังเคราะห ประเมินค่าและกระบวนการคิดที่นำไปใช้ในการทำงาน ส่วน
์
์
ภาคปฏิบัติหรือด้านทักษะ จะเน้นสมรรถนะหรือความสามารถในการทำงาน กระบวนการที่ใช้ในการ
ทำงาน และผลผลิตที่เกดจากการทำงานที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด รวมทั้งพฤติกรรมลักษณะนิสัยใน
ิ
การทำงานด้วย
• หลักของการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงนอกจากจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ยังช่วยพัฒนา
กระบวนการสอนและการประเมินผลของครูผู้สอนด้วย หลักของการประเมินผลตามสภาพจริงมีดังนี้
1. เป็นการประเมินความก้าวหน้าและการแสดงออกของผู้เรียนบนรากฐานของทฤษฎีทาง
พฤติกรรมการเรียนรู้ในแต่ละด้านของผู้เรียน โดยแต่ละด้านมีระดับของการเรียนรู้ ดังนี้
ระดับ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย
6 คิดสร้างสรรค์
5 ประเมินค่า ทำเป็นธรรมชาติ สร้างบุคลิกภาพ
4 วิเคราะห ์ ปฏิบัติถูกต้องทุกขั้นตอน จัดระบบตนเอง
3 การประยุกต์ใช้ ปฏิบัติมีความผิดพลาดน้อย เห็นคุณค่า
2 ความเข้าใจ ปฏิบัติตามคำสั่ง ตอบสนอง
1 ความจำ เลียนแบบ ทำตาม การรับรู้