Page 47 - 8
P. 47
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 41
1. ศึกษาโครงสร้างหลักสูตร
เนื่องจากการจัดแผนการเรียนมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาและการสำเร็จการศึกษา
ของผู้เรียน ดังนั้นสถานศึกษาและสถานประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษาทวิภาคีจะต้องศึกษาทำความ
เข้าใจหลักสูตร ประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางาน มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและ
สาขางาน เพื่อเลือกรายวิชาที่จะนำมาจัดแผนการเรียนได้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่หมวดวิชาและกลุ่มวิชา
ในหลักสูตรกำหนดว่าเป็นวิชาบังคับ วิชาเลือก วิชาที่ต้องเรียนก่อน-หลัง รวมทั้งต้องศึกษาระเบียบ
หลักเกณฑ์และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทวิภาคีด้วย
2. กำหนดรูปแบบการเรียนและการฝึกอาชีพ
สามารถจัดได้หลายรูปแบบขึ้นกับความต้องการและความพร้อมของสถานศึกษาและสถาน-
ประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ได้แก่
้
รูปแบบที่ 1 ในหนึ่งสัปดาห์ จัดใหเรียนในสถานศึกษาบางวันและจัดฝึกอาชีพในสถาน
้
ประกอบการบางวัน ซึ่งโดยปกติในภาคเรียนแรก หรือปีการศึกษาที่ 1 (ระดับ ปวช.) ควรจัดใหเรียนและ
ฝึกปฏิบัติ ในสถานศึกษาก่อน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานและเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนไปฝึก
อาชีพในสถาน3ประกอบการ และในภาคเรียนถัดมาจึงเริ่มจัดใหเรียนในสถานศึกษาและฝึกอาชีพใน
้
สถานประกอบการตลอดภาคเรียนต่อเนื่อง โดยควรเริ่มจากในหนึ่งสัปดาห์จัดจำนวนวันให้เรียนและฝึก
ี
ปฏิบัติในสถานศึกษามากกว่าฝึกอาชีพในสถานประกอบการ แล้วค่อยลดจำนวนวันที่เรยนและฝึกปฏิบัติ
์
ในสถานศึกษาลง และเพิ่มจำนวนวันที่ฝึกอาชีพในสถานประกอบการในแต่ละสัปดาหในภาคเรียนถัดไป
ดังตัวอย่าง
ตัวอย่าง การจัดการเรียนและการฝึกอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ปีการศึกษา/ภาคเรียน จันทร ์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร ์
ปวช. 1 ภาคเรียนที่ 1 เรียน เรียน เรียน เรียน เรียน
ปวช. 1 ภาคเรียนที่ 2 เรียน เรียน เรียน เรียน เรียน
ปวช. 2 ภาคเรียนที่ 1 เรียน เรียน เรียน เรียน ฝึกอาชีพ
ปวช. 2 ภาคเรียนที่ 2 เรียน เรียน เรียน ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ
ปวช. 3 ภาคเรียนที่ 1 เรียน เรียน ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ
ปวช. 3 ภาคเรียนที่ 2 เรียน ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ ฝึกอาชีพ
แผนภาพที่ 7 แสดงตัวอย่างการจัดการเรียนและการฝึกอาชีพ ระดับ ปวช. ในหนึ่งสัปดาห์ตลอดภาคเรียน